หน้าหลัก
เรือนพื้นถิ่น
ข่าว/ปกิณกะ
อภิธานศัพท์
วิดีโอ
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับโครงการ
นโยบายการใช้งาน
ติดต่อเรา
ศมส.
เข้าสู่ระบบ
EN
Search
เรือนพื้นถิ่น
อภิธานศัพท์
อภิธานศัพท์ 539 รายการ
ก
|
ข
|
ค
|
ง
|
จ
|
ฉ
|
ช
|
ซ
|
ฐ
|
ด
|
ต
|
ถ
|
ท
|
ธ
|
น
|
บ
|
ป
|
ผ
|
ฝ
|
พ
|
ฟ
|
ม
|
ภ
|
ย
|
ร
|
ล
|
ว
|
ศ
|
ส
|
ห
|
อ
|
ฮ
|
กก
ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของแผ่นบานประตูหรือหน้าต่าง ถ้าเป็นหลังของแผ่นบานประตูก็เรียกว่า กกประตู ถ้าเป็นด้านหน้าต่างก็เรียกว่า กกหน้าต่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กกประตู
ซอกระหว่างหลังบานประตูกับฝาหรือผนังเรือน เป็นคำที่มีลักษณะความหมายคล้ายกับคำว่า กกหู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กกหน้าต่าง
ซอกระหว่างหลังบานหน้าต่างกับฝาหรือผนังเรือน เป็นคำที่มีลักษณะความหมายคล้ายคำว่า กกหู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กง
ก.กงรถ ไม้ท่อนหนาทำเป็นรูปโค้งวางตามวงล้อ ล้อรถวงหนึ่งประกอบด้วย 4 เสี้ยวกง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กงค้าง
ไม้โครงสร้างเรือ ทำเป็นรูปโค้งวางตามขวางของลำ ทำเฉพาะด้านข้างเว้นส่วนที่เป็นท้องเรือ กงค้างใช้วางสลับกับกงเป็นช่วงๆ ไปตามความยาวของเรือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กงจักร
จานโลหะทำเป็นแผ่นแบน ขอบมีคมเป็นซี่ใบมีด ใช้เป็นอาวุธข้างให้หมุนไปเชิดสังหารศัตรู เป็นอาวะประจำพระองค์พระนาราณ์ พระอินทร์ พระพิฆเนศวร ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กงฉาก
ไม้เทียบมุมฉาก เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของช่างไม้ปลูกสร้าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กงพัด
ไม้ที่ติดขนาบข้างโคนเสา ปลายทั้งสองข้างของไม้กงพัดนี้วางอยู่บสี่เหลี่ยมที่เรียกกันว่า งัว ด้านละท่อน ไม้กงพัดจะขนาบติดเสาอยู่ด้วยวิธีบากฝังลงไปในเนื้อเสา และยึดติดกับเสาด้วยลูกสลักตอกแน่น การที่ต้องทำกงพัดติดไว้ปลายเสาเช่นนี้ก็เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เสาทรุด ไม้กงพัดนี้ทำด้วยไม้จริงเพื่อให้แข็งแรงและคงทน สำหรับไม้งัวโดยทั่วไปทำด้วยไม้จริง แต่ในภาคกลางบางแห่งเช่นแถบอยุธยาน้ำท่วมได้ง่าย และดินมีความชื้นสูงจะใช้ไม้ทองหลางหลายๆ ท่อนรับกงพัดแทนงัวไม้จริง ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะไม้ทองหลางเมื่อฝังดินและมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอจะไม่ผุเปื่อย มีความคงทนดีเท่าไม้จริงเช่นกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กงเรือ
ข. ไม้ท่อนหนาทำเป็นรูปโค้งวางตามขวางลำทำเป็นโครงเรือ ส่วนล่างของกง ตรงกลางส่วนโค้งยึดติดกับกระดูกงู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กงวาน
กงเรือเฉพาะตัวที่เจาะรูทะลุให้น้ำที่ขังอยู่ระหว่างกงไหลลอดถึงกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กนก
ก.ทองคำ ข.ลายประดิษฐ์เลียนธรรมชาติในแบบจิตรกรรมไทย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กนกเปลว
ลายกนกเขียนที่มีปลายสะบัดพลิ้วคล้ายเปลวไฟ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก้นขันธ์
ชื่อขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นกระพุ้งตอนล่างของช่อฟ้านั่งอยู่บนสันอกไก่ ชื่อองค์ประกอบส่วนนี้ในบางแห่งก็เรียกเป็นศัพท์สามัญว่า พุงนกกระจาบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก้นนกกวัก
น.แบบทรงหลังคาของเรือนไม้บั่ว (เรือนเครื่องผูก) ที่นิยมสร้างขึ้นเป็นหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย ลักษณะหลังคาเป็นทรงยกจั่วเปิดด้านหนึ่ง และที่ด้านตรงข้ามกลับทำปีกนกปิดคลุมเสียครึ่งจั่ว ทำให้รูปหลังคาทางด้านข้างคล้ายรูปของตัวนก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กบ
ก.ไม้สลักที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่างหรือบานประตู ทำหน้าที่คล้ายกลอนในสมัยปัจจุบัน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตูใช้กบนี้สอดข้างในช่องเจาะของตัวไม้ธรณี อาจใช้ใช้ได้ทั้งตัวเดียวและสองตัว ที่ใช้กบสองตัวนั้นก็เพื่อประสงค์จะปิดด้านใดด้านหนึ่งไว้ โดยไม่ให้บานหน้าต่างตีเปิด (เพราะใช้ฝาล้ม) ข.เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ประกอบด้วยใบมีดที่มีหน้ากว้าง ใช้ไสไม้ให้หน้าเรียบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กบทู
ไม้กระบอกตัวบนเหนืออกไก่ มีความยาวตลอดสันหลังคา ใช้สำหรับบังคับหลบจากให้ติดอยู่กับสันหลังคา กบทูนี้จะมีใช้เฉพาะเครื่องเรือนผูกเท่านั้น ในบางท้องถิ่นเรียกไม้กบทูนี้ว่า ไม้ข้างควาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กบลอกคิ้ว
เครื่องมือไสไม้ที่มีคมมีดแต่งให้ขูดเนื้อไม้ออกเป็นเส้นนูน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรง
ที่กักขังคนหรือสัตว์ มีซี่ไม้หรือเหล็กกั้นเป็นเครื่องไม่ให้หลบหนีได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรรชิง
ร่มเข้ากระบวนพิธี เป็นร่มขอบกว้างชั้นเดียว ติดระบายที่ขอบร่มซ้อนสองชั้น หลังร่มแบนราบ คันร่มยาว ใช้เป็นเครื่องยศกางกั้นคู่กันไปกับคานหาม มีชนิดแตกต่างกันดังนี้ หุ้มผ้าแดงหรือผ้าขาวโรยทองเรียก พื้นกะลอ ริ้วขาวและน้ำเงินสลับกันที่ระบายเรียก กระเชิงเกล็ด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรอบ
ส่วนที่ล้อมเป็นขอบอยู่โดยรอบ เช่น กรอบประตู กรอบหน้าต่าง กรอบรูป ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรอบเช็ดหน้า
ตัวไม้สี่ท่อนที่นำมาต่อรัดรอบขอบบานประตูหรือหน้าต่างเป็นรูปกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามขนาดของประตูหรือหน้าต่างที่ใช้ สมัยปัจจุบันเรียกว่า วงกบกระตู หรือ วงกบหน้าต่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรอบตีนฝา
ชื่อตัวไม้ประกบฝาเรือนเครื่องผูกชนิดหนึ่งที่สานเป็นขัดแตะ กรอบนี้จะติดอยู่กับพื้นเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรอบรัดเกล้าฝา
ไม้ตัวบนที่วางอยู่ใต้ขื่อของเครื่องเรือนผูก ใช้รัดกับแปหัวเสา กรอบรัดเกล้าฝานี้มีทั้งสี่ด้านของตัวเรือนด้านสกัดผูกมัดกับรัดเกล้าฝาด้านยาวตามกลอน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระจกหุง
กระจกสีชนิดบาง ใช้ตัดประดับอาคารหรือครุภัณฑ์ เช่น พระแท่นบุษบก หรือเรียกว่า กระจกเกรียบ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมบาง มีสีต่างๆ งานทำกระจกหุงรุ่งเรืองถึงขั้นสูงสุดในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักระรานุภาพ (พระองค์เจ้าปราโมข) ทรงบังคับบัญชาการช่างหุงกระจก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระจัง
ชิ้นลายหรือลายที่มีเส้นขอบนอกคล้ายรูปดอกบัว ใช้เรียงประดับให้เกิดจังหวะในทางแนวนอนตามขอบของวัตถุหรือสิ่งของ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระจังเจิม
กระจังขนาดเล็กใช้เรียงประดับขอบเพื่อให้เกิดจังหวะ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับกระจังตาอ้อย แต่นิยมทำขนาดใหญ่กว่ากระจังตาอ้อย ใช้ติดเป็นตัวลอยบนขอบวัตถุ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระจังตาอ้อย
กระจังขนาดเล็กเป็นส่วนประดับบนผิวของสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดจังหวะ เป็นกระจังขนาดเล็กที่สุดในบรรดากระจังทั้งสิ้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระจังปฏิญาณใหญ่
กระจังขนาดใหญ่มีรูปคล้ายกระจังรวน มียอดเอนลู่ไปทางด้านหลัง ใช้ประดับแผงกั้นด้านข้างพนักที่นั่งต่างๆ เช่น พระราชยาน ธรรมาสน์ สัปคับ ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระจังฟันปลา
โครงนอกรูปสามเหลี่ยมที่เรียงต่อกันเป็นแถวยาวดูคล้ายซี่ฟันปลา รูปซ้อนของกระจังที่เสริมขนาดจะกำหนดขึ้นจากการขยายตัวส่วนที่มีระเบียบทางเรขาคณิตด้วยการใช้วิธีขยายที่เรียกว่า ฟัน 1 ฟัน 3 ฟัน 5 (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระโจม
ก.เป็นที่พักหลบภัยธรรมชาติ ทำด้วยผ้าหนา ขอบล่างกว้าง รวบยอดยกสูงแหลม เป็นรูปลอมฟาง มีทั้งที่เป็นรูปกลมและรูปเหลี่ยม ข.วัตถุรูปยาวหลายอันที่นำปลายมาพิงหรือผูกยอดรวมกัน เช่น กระโจมปืน กระดจมหอก ค.การเคียนผ้านุ่งเหนือราวนมอย่างที่เรียกว่า นุ่งกระโจมอก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดก
การทำให้ปลายข้างหนึ่งหรือขอบข้างหนึ่งยกสูงขึ้น ถ้าเป็นคำที่ใช้ในกระบวนการแกะลายไม้หรือปั้นปูนก็หมายถึง การทำให้ขอบของตัวลายยกลอยขึ้นข้างหนึ่ง เพื่อช่วยให้ลายนั้นดูลึกและพลิ้ว เรียกว่า แกะ หรือ ปั้นกระดก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดาน
ก.ไม้ที่เลื่อยออกเป็นแผ่นยาวแบน ใช้ปูพื้นและทำฝาเรือน ข.สิ่งที่เป็นแผ่น ลักษณะแบน เช่น กระดาน (หิน) ชนวน กระดานหมากรุก ค.ระนาบที่มีหน้าเรียบ เช่น ส่วนของฐานสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเรียกว่าหน้ากระดาน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดานชนวน
แผ่นหินชนวนสีดำ มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนเรียบ ที่ขอบด้านกว้างทั้งสองด้าน มีไม้กลึงกลมปิดขนาบไว้สำหรับให้ผู้ใช้จับได้ถนัด ใช้ดินสอขาวหรือดินสอหินเป็นเครื่องมือเขียน เป็นเครื่องเรียนของนักเรียนและโหร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดานดุน
แผ่นไม้ลูกฟักที่มีพื้นส่วนกลางหนากว่าส่วนขอบ มีทั้งชนิดดุนลานและไม่มีลาย เรียกว่า ลูกฟันกระดานดุน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดานพิง
แผ่นไม้สำหรับนั่งพิง ใช้ติดกับหลังพนักเก้าอี้นั่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดาษ
ใยเยื่อไม้เนื้ออ่อน ใยไม้ไผ่ ใยกก ฯลฯ ทุบละเอียดกรองเป็นแผ่นบาง ใช้ทำสมุดเขียนหนังสือ หรือทำสิ่งของอื่นๆ ที่ต้องการความบางเบา พับตัดได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดิ่งใบโพธิ์
เครื่องหล่อโลหะใช้ทำให้เกิดเสียงมีรูปคล้ายระฆังแต่มีขนาดเล็ก ลูกกระดิ่งห้อยแผ่นโลหะเบาแบนรูปใบโพ เมื่อใบโพถูกลมจะแก่วง ทำให้ลูกกระดิ่งตีกับตัวกระดิ่งเกิดเสียงดังขึ้น มักใช้ห้อยแขวนตามชายคาอาคารในวัด ทำให้เกิดเสียงวังเวง ในบางที่โดยเฉพาะในวรรรคดีจะเรียกกระดิ่งชนิดนี้ว่า กระดึง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดิ่ง
เครื่องหล่อโลหะใช้ทำให้เกิดเสียง มีรูปคล้ายระฆังแต่มีขนาดเล็ก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดึง
ก.เครื่องหล่อโลหะใช้ทำให้เกิดเสียง มีรูปคล้ายระฆังหรือพังลางขนาดเล็ก ใช้แขวนคอสัตว์ เช่นวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ปล่อยให้กินตามดงตามป่า เพื่อให้รู้ว่าสัตวืนั้นอยู่ที่ใด ข.เครื่องหล่อโลหะใช้ทำให้เกิดเสียง มีรูปเช่นกระดิ่ง แต่มีลูกเคาะเป็นใบโพ ใช้แขวนตามชายคาโบสถ์ วิหาร ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดูก
ก.แกน โครงของวัตถุ เช่น กระดูกงูเรือ หมายถึง โครงหลักที่วางตลอดหัว ถึงท้ายเรือเมื่อเริ่มสร้าง ข.โครงร่างของคนและสัตว์ที่ช่วยให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ ค.ชิ้นเศษของธาตุปูนที่เหลือจากการเผาซากคนหรือสัตว์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระดูกงู
แกนโครงสร้างของเรือที่วางตลอดความยาวตั้งแต่หัวจรดท้าย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระได
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ใช้ขึ้นหรือลงระหว่างพื้นต่างระดับ ตัวกระไดประกอบด้วยแม่กระไดและลูกขั้นสำหรับก้าวขึ้นและลง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระไดแก้ว
ราวขั้นรูปกระไดสำหรับวางพาดพระแสงศัตราวุธ หรือกระไดพาดขึ้นธรรมาสน์ นิยมทำเป็นรูปพญานาค คำว่า "กระไดแก้ว" จะใช้เรียกเฉพาะกระไดที่ใช้กับเครื่องใช้ทางศาสนาและเครื่องใช้ของพระมหากษัตริย์เฉพาะที่สำคัญเท่านั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระไดลิง
ชั้นกระไดใช้ขึ้นลงระหว่างชั้นล่างกับชั้นบนของอาคารหรือเรือ วางพิงหรือเกาะขนาบกับฝาไม่มีความเอน เวลาขึ้นและลงใช้มือไต่ขึ้นและไต่ลง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระต๊อบ
โรงเรือนที่ปลูกชั่วคราวให้อยู่อาศัยหรือเก็บของ ทำด้วยไม้กรุหรือมุงด้วยใบไม้ หรือใบจาก ไม่ใช้ช่างในการปลูก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระทงป่า
ไม้ท่อนใช้ยันขวางตามลำเรือขุด เพื่อช่วยให้กาบเรือแบะถ่างกว้างออกไปตามที่ต้องการ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระทงลา
ภาชนะทำด้วยใบตองยกขอบเย็บเป็นรูปจักรฟันปลาพับซ้อนต่อกันเป็นวงรอบกระทง ใช้สำหรับใส่ดอกไม้และมีกรวยครอบ ใช้ในพิธีลาบวชหรือถวายตัวต่อเจ้านาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระทงเหิน
ไม้กระดานขวางที่หัวและท้ายเรือ ในบางที่เรียกว่า หูกระต่ายเรือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระทู้
เสาปักรายเป็นรั้วกั้นเขต (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระบวน
ก.เป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นอย่างเดียวกันหรือประเภทเดียวกัน ใช้ในภาษาช่าง เช่น ลายกระบวนจีน หมายถึง พวกที่มีลายเป็นอย่างจีนทั้งหมด ลายกระบวนแกะ หมายถึง ของที่แกะลายทั้งหมด ข.ฝูงชนหรือพาหนะที่มุ่งหน้าไปในทางเดียวกัน เพื่อวัถุประสงค์อย่างเดียวกัน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "ขบวน" (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระบวนแกะ
ใช้เรียกลวดลายที่มีเส้นขุดลึกไปในเนื้อวัตถุเช่นไม้หรือหิน เป็นคำที่แสดงลักษณะของวัตถุนั้นๆ ถูกประดิษฐ์ขึ้น (พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง)
กระบวนจีน
ใช้เรียกลวดลาย รูป หรือวัตถุที่เป็นแบบจีน เช่น ลายในผ้าแพรพรรณ ภาชนะรูปประแจจีน รูปมังกร รูปหงส์ ฯลฯ เรียกว่าลายกระบวนจีนหรือกระบวนจีน เป็นคำที่แสดงประเภทหรือลักษณะของของนั้นๆ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระบอก
ก.ท่อนของปล้องไม้ไผ่ ข.สิ่งที่มีลักษณะกลมกลวง มีทรงสูง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระบู
กระเบิ้องดินเผาเช่นเดียวกับกระเบื้องราง อย่างเช่นที่ใช้มุงหลังคาพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คำว่า กระบู ปรากฏในจดหมายเวรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีถวายสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2483 (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องเกล็ดเต่า
กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม มีผิวด้านและมีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์ วิหาร ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องครอบปลายเชิงกลอน
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำด้วยดินเผาเคลือบ ใช้สวมปิดปลายเชิงกลอนเพื่อกันตัวไม้ผุเปื่อย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องครอบแป
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำด้วยดินเผาเคลือบ ใช้ปิดปลายแปเพื่อกันตัวไม้ผุเปื่อย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องครอบหัวอกไก่
กระเบื้องที่ทำเป็นรูปเช่นเดียวกับหัวอกไก่ แต่มีขนาดใหญ่พอที่จะสวมครอบหัวอกไก่ได้พอดี และมีความยาวเท่ากับส่วนที่หัวอกไก่ยื่นพ้นไขราหน้าจั่ว กระเบื้องชนิดนี้ทำขึ้นเพื่อหุ้มไม้หัวอกไก่กันผุเปื่อยเนื่องจากการเปียกฝน เป็นกระเบื้องที่ทำขึ้นใช้ในสมัยสุโขทัยเท่านั้น ส่วนในสมัยต่อมาไม่ทำเป็นกระเบื้อง แต่ใช้ตีแผ่นดีบุกหรือทองแดงหุ้มแทน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องครอบอกไก่
กระเบื้องดินเผาแผ่นแบนทับตอนปลายเป็นขอเกี่ยวที่สันหลังคา ใช้วางครอบปลายหลังคาตอนสันอกไก่ตลอดความยาวของหลังคา ถ้าหากอาคารเป็นชนิดหลังคามุงกระเบื้อง กระเบื้องครอบอกไก่นี้จะมีปูนโบกทับอีกชั้นหนึ่ง จะเห็นตัวอย่างได้จากหลังคาโบสถ์หรือหรือวิหาร แต่สำหรับหลังคามุงจากอาจใช้กระเบื้องนี้วางทับกดปลายจากเฉยๆ โดยไม่ใช้ปูนโบกและเรียกชื่อว่า กระเบื้องหลบ หรือ หลบจาก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องเคลือบ
สิ่งที่เป็นดินเผาเคลือบน้ำยาที่ผิวนอก เช่น ถ้วยหรือชามกระเบื้องเคลือบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องเชิงชาย
กระเบื้องดินเผาเคลือบสีแดงเช่นเดียวกับกระเบื้องราง เป็นกระเบื้องที่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยได้รับอิทธิพลมาจากสมัยลพบุรี เปลี่ยนรูปตัวปิดเชิงชายแบบกลีบขนุนของขอมมาเป็นแบบกระจังประดับตอนเชิงชายของไทย ทำเป็นกรอบเรือนแก้วบรรจุรูปเทพพนมหรือลายดอกไม้ มีขาสอดเข้าไปในกระเบื้องคว่ำตัวสุดท้าย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องดินขอ
กระเบื้องดินเผารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้มุงหลังคาอาคารทั่วไปส่วนที่ใช้เกาะกับตัวแปไม้ทำเป็นปุ่มยาวรูปคล้ายขอเกี่ยว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องปรุ
กระเบื้องดินเผาเคลือบน้ำยาสีเขียวหรือขาว เฉพาะที่เป็นกระเบื้องอย่างเก่ามีลายโปร่ง ส่วนใหญ่พบว่าเป็นของที่ทำมาจากเมืองจีน ใช้กรุตามกำแพงแก้วหรือใต้พนักระเบียบหรือลับแล เช่น มณฑปทิศวัดอรุณราชวรราราม มีลายเป็นรูปสวัสดิกะ ลายดอกไม้ ฯลฯ ส่วนกระเบื้องปรุที่ทำในเมืองไทยมีใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นเครื่องสังคโลก มีลักษณะสี่เหลี่ยมทำปรุเว้าตรงส่วนกลางทั้งสองด้าน เมื่อนำแผ่นกระเบื้องมาเรียงต่อกันเข้าแล้วจะมีรูปปรุกลมและมีลดคิ้ว กระเบื้องปรุไทยนั้นมีทั้งสีขาวและสีเขียว กระเบื้องปรุนี้ในบางทีเรียก กระเบื้องรู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องมอญ
กระเบื้องดินเผาปลายตัดเฉียงแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดินเช่นเดียวกับกระเบื้องเกล็ดเต่า (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องราง
กระเบื้องดินเผาเคลือบสีแดง เป็นกระเบื้องมุงหลังคาแบบจีน มีลักษณะเป็นแผ่นโค้งหงาย แต่งปูนเป็นสันทับรอยต่อระหว่างแผ่น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้องหางมน
กระเบื้องดินเผาใช้สำหรับมุงหลังคา กระเบื้องชนิดนี้มีชื่อเรียกตามลักษณะรูปโค้งมนของปลายกระเบื้อง โดยทั่วไปนิยมให้มุงอาคารทางศาสนา เรือนหลวง หรือบ้านผู้ทรงผู้ฐานันดรศักดิ์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระเบื้อง
สิ่งที่ทำเป็นแผ่นแบบบาง มีดินเป็นโครงสร้างหลักในการทำ ใช้เป็นเครื่องมือ มุง ปู หรือ กรุอาคาร หรือเป็นโครงสร้างหลักของเครื่องภาชนะใช้สอย คำว่า "กระเบื้อง" หมายเฉพาะเครื่องดินเผา หากจะหมายความเป็นอย่างอื่นก็มักจะคำที่แสดงลักษณะเครื่องใช้ประกอบเข้าด้วย เช่น กระเบื้องปูพื้น จานกระเบื้อง กระเบื้องมุงหลังคา ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระพ้อม
ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาด้วยดิน มีขนาดใหญ่ รูปคล้ายกระชังขนาดใหญ่ ใช้บรรจุข้าวเปลือก กระพ้อมนี้ในบางท้องที่เรียกว่า พ้อม หรือ กะพ้อม มีขนาดส่วนสัดโดยประมาณสูง 1.20 เมตร กว้าง 1.20 เมตร มักตั้งไว้ในเพิงยกแคร่ติดกับตัวเรือน หรือปลูกเป็นยุ้งแยกไว้ต่างหากจากตัวเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระพัก
ไหล่ดินที่เป็นยกชั้นหรือเป็นขั้นบันไดเป็นแนวยาวเพื่อกันดินทลาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระพัง
หรือตระพัง ตะพัง สะพัง เป็นคำที่สมัยสุโขทัย หมายถึง แอ่ง บ่อ หรือสระที่ขุดเพื่อใช้เก็บน้ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระพี้
เนื้อไม้ที่มีเสี้ยนแตก ผิวหยาบ ไม่เหมาะที่จะใช้งานรับกำลัง และไม่เหมาะที่จะใช้งานประณีต ลักษณะที่เป็นกระพี้ในเนื้อไม้มักจะเกิดกับไม้เนื้อแข็งทั่วไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กระสวน
แบบสำหรับสร้างหรือทำวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กระสวนเรือนหรือกระสวนเสื่อ อาจทำเป็นแบบเขียนหรือจำลองหุ่นขึ้นดูตามวิธีที่ทำกันในสมัยโบราณก็ได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กราง
ถูด้วยตะไบ เช่น กรางไม้ หมายถึง ใช้ตะไบถูไม้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กราบ
ก.การทำความเคารพต่อบุคคลหรือสิ่งควรสักการะด้วยอาการคุกเข่าหรือหมอบพับเพียบ วางศอกทั้งคู่ ลงจรดพื้น ทาบท้องแขนและและฝ่ามือทั้งสองลงบนพื้น พร้อมกับก้มศีรษะลงติดกับหลังมือ ข.ขอบหรือทางเดินที่อยู่ด้านข้างลำเรือ มีกราบซ้ายและกราบขวาเป็นต้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรุ
ก.คูหาทึบปิดทางเข้าออก ใช้เป็นที่บรรจุของมีค่า เช่น พระธาตุ พระพิมพ์ หรือของอื่นใดที่มีผู้ถวายเป็นพุทธบูชา กรุนี้จะอยู่ส่วนกลางในองค์พระเจดีย์หรือพระปรางค์ เมื่อบรรจุสิ่งของต่างๆ แล้วจึงปิดทางเข้าออกไม่ให้มีผู้ทราบว่ามีสิ่งใดบรรจุอยู่ภายใน ข.ปิดหรือหุ้มด้วยวัตถุที่เป็นแผ่น เช่น กรุกระเบื้อง กรุทองแดง หรือกรุดีบุก เป็นต้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กรุยเชิง
ลายเขียนตกแต่งทางด้านจิตรกรรม มีลักษณะลายเป็นลายเชิงปลายแตกเหมือนชายครุย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กฤษฎาธาร
พระที่นั่งสร้างขึ้นเฉพาะคราวเพื่อแสดงพระกฤษฎาภินิหารของพระมหากษัตราธิราช เช่น ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพ ดังที่มีกล่าวถึงพระบรมศพของพระนเรศวรมหาราชในพระราชพงศาวดาร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กลด
ก.ร่มใหญ่มีคันด้ามยาว พื้นผ้าสีสด สำหรับเจ้านายหรือพระภิกษุมีผู้เชิญกลดตามบังแสงอาทิตย์ให้หรือเชิญตามให้เป็นเกียรติ ข.ร่มใหญ่มีคันด้ามยาว พื้นผ้าสีขาวมีลายทอง ใช้เป็นเครื่องแสดงยศ กลดที่มีสีขาวมีชื่อเรียกเฉพาะว่า กลดกำมะลอ ค.ร่มใหญ่มีคันด้ามยาว พื้นผ้าสีเหลืองเช่นเดียวกับผ้ากาสาวพัสตร์ มีชายกลดยาวหุ้มรอบเป็นวงกลม มีช่องเปิดทางเดียวสำหรับใช้เข้าออก ใช้ปักดินทำเป็นที่พักค้างแรมของพระภิกษุในเวลาออกธุดงค์ ง.หม้อน้ำเทพมนต์ของพราหมณ์ มีลักษณะเหมือนคนโท มีฝาปิดและมีพวยอย่างกาน้ำ ในบางที่ใช้คำว่า "กล" แทน จ.วงแสงเรืองสีรุ้งรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เมื่อดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์มีแสงเช่นนี้เรียกว่า ทรงกลด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กลม
วัตถุหรือรูปที่มีปริมาตรทึบและมีระนาบเดียว ที่สามารถวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้เท่ากัน ไม่ว่าจะวัดจากทางระนาบใด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กลวง
สิ่งที่เป็นช่องหรือโพรง หรือรูทะลุตลอดแผ่นหรือก้อนทึบ เช่น รูตะกรุด ลำปล้องไม้ไผ่ ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กลอน
ก.อุปกรณ์ทำด้วยท่อนโลหะหรือไม้ ใช้บังคับบานประตูหรือหน้าต่างเปิด ข.แผ่นไม้มีหน้าที่รองรับไม้ระแนงสำหรับมุงกระเบื้องหรือผูกตับจาก เป็นตัวไม้ที่วางพาดจากไม้อกไก่ตอนบนสุดของสันหลังคา ผ่านไม้แปที่รองรับลงมาได้สะดวก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กลอนขอ
ตัวไม้ที่บากเป็นบ่าไว้สำหรับไม้ระแนงมุงกระเบื้องหลังคา ตัวไม้กลอนขอเป็นตัวไม้ที่วางพาดจากไม้อกไก่ตอนบนสุดของสันหลังคา ผ่านไม้แปที่รองรับลงมาจนจรดไม้เชิงกลอนที่ชายคา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กลีบขนุน
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบปรางค์ขอม ทำด้วยแท่งหินหรือแท่งปูนฉาบ ใช้ประดับตอนย่อมุมของพระปรางค์มีที่มาจากนาคปักบันแถลงของขอม กลีบขนุนของพระปรางค์ที่สร้างขึ้นเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ จะทำเป็นรูปเทพเจ้าประจำทิศที่สำคัญตามตำแหน่งของเทพเจ้าประจำทิศ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กลีบมะเฟือง
องค์ประกอบตกแต่งของสถูปหรือเจดีย์ เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะแบบอู่ทองในลักษณะหนึ่งของพุทธศตวรรษที่ 18 ปัจจุบันคงมีอยู่เพียงสององค์คือที่เมืองสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาทและที่วัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี มีที่มาจากสถูปทรงศิขร (ศิ-ขะ-ระ)หรือปรางค์ขอมแบบลพบุรี กลีบมะเฟืองมีวิธีการสร้างจากการวางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 8 รูปซ้อนลงบนศูนย์กลางเดียวกัน จัดมุมให้ได้จังหวะทิศที่เท่ากัน จะทำให้เกิดจำนวนกลีบแฉกทั้งหมด 32 กลีบ จำนวนเลขที่นำมาใช้ในงานศิลปะนั้น ในอดีตนิยมตัวเลขที่มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนา สำหรับเจดีย์กลีบมะเฟืองที่มีกลีบแฉก 32 กลีบ หมายถึงทิศน้อยทิศใหญ่ที่มีเทพประจำรักษา หรืออาจหมายถึงอาการ 32 ในกายมนุษย์ ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อพิจารณาธรรมก็ได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กวด
ทำให้แน่น ให้ตึง เช่น การไขนอตให้บีบแน่นกับเนื้อวัตถุ มีคำแทนที่อาจใช้ได้ในความหมายเดียวกัน ขันหรือขันชะเนาะ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กว้าน
เฟืองหมุนทดรอบให้ผ่อนแรงในการฉุดยกหรือเคลื่อนของหนักจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก่องนม
เครื่องรัดรูปเต้านมทำด้วยผ้า หรือเป็นเครื่องประดับที่เห็นได้เฉพาะรูปสตรีในงานจิตรกรรมหรือประติมากรรม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก่อง
เครื่องประดับรัดรูปของสตรี เช่น ก่องหน้า หรือที่เรียกกันในชื่ออื่นว่า ปันจุเห็จ หมายถึง กรอบเครื่องประดับรัดรูปหน้าบังเชิงผมตรงเหนือหน้าผาก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก่อ
การนำเอาวัสดุก่อสร้างที่เป็นก้อนเช่น อิฐหรือหินมาเรียงต่อเชื่อมโดยใช้เชื้อประสานช่วยให้อิฐหรือหินยึดกันระหว่างก้อน โดยมีคุณสมบัติใหม่เสมือนเป็นผืนแผ่นเดียวกันตลอด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กะบัง
แผงซี่ไม้ที่ใช้กั้นทางน้ำไหลและมีช่องบังคับให้ปลาเข้าไปติดอยู่ในที่ดักจับ ใช้เป็นเครื่องมือจับปลาน้ำจืดในทำเลที่มีน้ำตื้น ปัจจุบันเขียน กระบัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กะแบะ
แผ่นหรือแผง เช่น ฝาเรือนที่ประกอบขึ้นเป็นแผงสำเร็จรูป แต่ละแผงพร้อมที่จะยกขึ้นประกอบเป็นฝาเรือนได้ มีหน่วยนับเป็นจำนวนกระแบะ ปัจจุบันเขียน กระแบะ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กะเปาะ
ก.ส่วนของหลอดที่พองออกเป็นรูปกลม หรือสิ่งที่มีรูปคล้ายถุงลมปากเปิด ข.ผิวผนังตรงส่วนที่ทำยื่นหนาออกมาคล้ายเสาเหลี่ยมครึ่งต้นทาบติดอยู่การทำผนังในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ยกกระเปาะ หรือ ยกเก็จ ในบางกรณีถือว่าการก่อยกกระเปาะหรือยกเก็จเช่นนี้เป็นการทำเสา เสาชนิดนี้จะนิยมเรียกว่า เสาอิง ปัจจุบันเขียน กระเปาะ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กะเปาะย่อ
วิธีการย่อมุม โดยการยกกระเปาะหรือยกเก็จเพื่อแก้ความว่างและความเรียบบนผิวราบ เป็นวิธีย่อที่ต่างไปจากการย่อมุมไม้ 12 หรือไม้ 20 ที่ย่อโดยวิธีถือเอาศูนย์กลางของสิ่งที่ย่อนั้นเป็นหลัก การทำกระเปาะย่อนี้มักนิยมทำกับฐานของอาคาร ฐานชุกชี หรือฐานเจดีย์ ปัจจุบันเขียน กระเปาะย่อ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กะส่วน
ส่วนเทียบของกระสวนหรือแบบเขียนที่วางส่วนเทียบเป็น 1 ส่วน ต่อสิ่งที่จะต้องทำหรือต้องสร้างเป็นกี่เท่าของกระสวนหรือแบบเขียนนั้น เช่น กะส่วน 1:20 หมายความว่าสิ่งของหรืออาคารที่จะต้องทำนั้นมีขนาดจริงใหญ่เป็น 20 เท่าของกระสวนหรือแบบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กะไหล่
การเปียกทองทาภาชนะที่เป็นเงิน เรียกว่า กาไหล่ การเปียกทองนั้นใช้ละลายบริสุทธิ์ การเปียกทองทาภาชนะใช้กรรมวิธีเช่นเดียวกับการทำถมทองหรือที่เรียกกันว่า ตะทอง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กักษันตรัง
ซุ้มจะนำตรีมุขหรือประตูเรียงติดกันเป็นสามซุ้ม สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์,จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก,พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการฉลองวันประสูติครบ 100 ปี,(พระนคร:โรงพิมพ์พระจันทร์,2506),หน้า 90.
กังหันน้ำ
เครื่องทุ่นแรงที่ทำขึ้นเพื่อใช้ตักหรือชักน้ำที่อยู่ในระดับต่ำขึ้นไปสู่ที่สูง มีลักษณะเป็นวงล้อขนาดใหญ่ ตอนขอบวงล้อแขวนภาชนะตักน้ำไว้ตลอดความแรงของกระแสน้ำไหลจะทำให้วงล้อหมุนเอาภาชนะตักน้ำขึ้นไปเทลงในรางรับน้ำตอนบน การใช้กังหันชนิดนี้ไม่ต้องใช้แรงคนเข้าช่วยเลย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กังหันลม
ใบพัดที่หมุนด้วยกำลังลม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กัญญา
ก.หลังคากันแดดและฝนที่ทำติดไว้กับพาหนะ เช่น เรือหรือคานหาม ดังตัวอย่าง เช่น เรือกัญญาและแคร่กัญญา ข.นางงาม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กัญญาลดชั้น
หลังคารูปเรือน มีมุขลดตั้งอยู่กลางลำเรือ ใช้สำหรับตำรวจหลวงที่อยู่ในเรือขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กัปปิยภัณฑ์
สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องบริโภคที่พระภิกษุใช้ได้โดยไม่ผิดพุทธบัญญัติ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กัลเม็ด
ก.ฝาครอบสิ่งของมิดชิด มีเกลียวหมุนอดเข้าออกได้ เช่น ฝาครอบถ้ำยาดมชนิดมีเกลียวหมุน หรือจุกขวดชนิดมีเกลียวหมุน ข.ไฟที่ต้องจุดหรือตามไว้ตลอดวาระ เช่น เทียนกัลเม็ด คือเทียนที่จุดไว้หัวศพ และจุดรักษาศพนั้นไว้จนกว่าศพจะถูกนำไปเผาหรือฝัง ไฟกัลเม็ด ไฟซึ่งจะต้องจุดไว้ตั้งแต่เกิด และรักษาไฟนั้นไว้ไม่ให้ดับจนกว่าจะตายตามความเชื่อและปฏิบัติในศาสนาพราหมณ์บางลัทธิ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาญจนสิงหาสน์
ฐานรูปสิงห์สำหรับใช้รองรับพระราชอาสน์ ปัจจุบันเป็นฐานใช้ประจำสำหรับรองรับพระที่นั่งพุดตานในพระที่นั่งอนันตสมาคม มีชื่อเรียกรวมทั้งองค์พระที่นั่งว่า พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ฐานกาญจนสิงหาสน์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นผู้ออกแบบสร้าง เดิมใช้เป็นฐานรองรับพระแท่นนังคศิลาอาสน์ สำหรับตั้งในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก้านแย่ง
เส้นลายเขียนที่มีก้านแยกออกจากลายดอกลอยตอนกลางออกไปทั้งสองข้างดอกเท่าๆ กัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก้าน
ส่วนต่อเชื่อมระหว่างกิ่งกับใบของต้นไม้ ในทางจิตรกรรมใช้เรียกแกนของการออกลายแยกว่าก้าน ก้านแย่ง ก้านขด ก้านต่อดอก ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาบ
สิ่งที่มีลักษณะคล้ายเปลือก ทำหน้าที่ห่อหุ้มโคนหน่อหรือส่วนที่ยังเป็นเนื้ออ่อนของต้นไม้ที่ลำต้นเจริญตามข้อปล้อง เช่นต้นไผ่ ต้นหมาก ต้นมะพร้าว ฯลฯ ในทางศิลปกรรม ช่างได้ประยุกต์กาบในธรรมชาติมาเป็นส่วนต่อของลายเขียนทางจิตรกรรม หรือเป็นลายปั้นทางประติมากรรม หรือเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น กาบแข้งสิงห์ กาบพรหมศร กาบหางสิงห์ หรือแสดงให้เห็นที่มาเดิมในสิ่งที่ประดิษฐิ์ขึ้นใช้สอย เช่น ชฎาที่ต่อกาบเป็นชั้นเชิงตรงส่วนปลียอด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาบแข้งสิงห์
องค์ประกอบเชิงศิลปะส่วนที่หุ้มแข้งสิงห์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาบไผ่
องค์ประกอบเชิงศิลปะส่วนที่ประดิษฐ์ขึ้นเลียนธรรมชาติ เพื่อใช้หุ้มส่วนต่อต่างๆ เช่น เหนือข้อต่อ รูปทรงกลมที่คล้ายข้อปล้อง หรือโคนเสาตอนมุมนอก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับกาบพรหมศร แต่จัดอยู่ในชั้นที่มีความประณีตต่ำกว่า (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาบพรหมศร
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีรูปลักษณะคล้ายกาบเปลือกไม้เนื้ออ่อนในธรรมชาติ มักทำขึ้นตรงส่วนที่เป็นโคนเสาเหลี่ยมเพื่อหุ้มมุมให้ดูมีความประณีตเพิ่มขึ้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาบพรหมสิงห์
องค์ประกอบเชิงศิลปะที่ประดิษฐ์ขึ้นเลียนธรรมชาติ เพื่อใช้มปกมุมย่อไม้ส่วนที่เป็นขาสิงห์ หรือหุ้มปกเสาเหลี่ยมย่อมุมชิดที่ใช้บัวหุ้มหัวเสาแบบบัวแวง ในลักษณะที่ต้องการความประณีตและประดับเกียรติยศชั้นสูง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาบหน้าสิงห์
กาบที่ประดิษฐ์รูปลักษณ์เป็นหน้าสิงห์ประกอบฐานสิงห์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ก้ามปู,ลาย
ลายประดิษฐ์เลียนธรรมชาติใช้ในงานจิตรกรรมและประติมากรรม ประกอบสถาปัตยกรรม มีรูปลักษณะคล้ายกล้ามอ้าของปู นิยมทำเป็นลายต่อเนื่องตามแนวนอน เพื่อใช้เป็นตัวคั่นระหว่างส่วนของลายหรือวัตถุที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
การบุเรียน
โรงที่พระสงฆ์ใช้แสดงธรรมหรือศึกษาธรรม ปัจจุบันนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า ศาลาการเปรียญ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
การเปรียญ
เช่นเดียวกับคำว่า "การบุเรียน" (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กาแล
ตัวไม้ประกบไขว้บนปลายปั้นลมของเรือนทางภาคเหนือ ใช้เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ในด้านการตกแต่ง มักแกะสลักอย่างประณีตวิจิตร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กำ
ก.ซี่ล้อที่ต่อจากดุมไปยังกงหรือวงล้อ ข.มาตราวัดรอบของกลม เช่น วัดขนาดลำต้นไม้ ๑ กำสลึง เท่ากับความยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด ๑ กำเฟื้อง เท่ากับความยาว ๔ นิ้ว ๑/๒ กระเบียด ๑ กำสองไพ เท่ากับความยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน ๘ กำ เท่ากับความยาว ๑ จังออน (ของเก่า) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กำแพง
เครื่องกั้นเขต มีความมุ่งหมายในการใช้คล้ายกับรั้ว ผิดที่กั้นรั้วเป็นเครื่องกั้นเขตที่ทำด้วยไม้ส่วนกำแพงทำด้วยอิฐหรือหิน มีลักษณะเป็นแผงหนาในด้านตั้ง ใช้ปิดกั้นหรือแบ่งเนื้อที่ดินที่ประสงค์จะให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ เช่น กำแพงบ้าน กำแพงวัด กำแพงเมือง ซึ่งมีขนาดความหนา ความสูงใหญ่ ความมั่นคงผิดกันตามลำดับความสำคัญของการใช้ป้องกันศัตรู ตามกฎมณเฑียรบาลระบุว่า บุคคลที่มีชั้นยศต่ำกว่าเจ้าฟ้าห้ามมิให้ทำกำแพงมีใบเสมา จะให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ เช่น กำแพงบ้าน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กำแพงแก้ว
กำแพงเตี้ยใช้กั้นล้อมสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าควรรักษา เช่น ก.อาคารที่มีสิ่งเคารพบูชาทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ฯลฯ ข.อาคารอันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ อันได้แก่ พระที่นั่ง ปราสาท ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กำแพงเมือง
เครื่องกั้นเขตชุมนุมชนที่อยู่ร่วมกันจำนวนมากให้แยกออกต่างหากจากพื้นที่ทางเกษตรกรรมและป่าใช้ป้องกันข้าศึกศัตรูจากต่างถิ่นมารุกราน ใช้ก่อด้วยอิฐหรือหิน มักประกอบด้วยเชิงเทิน ป้อม และหอรบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กำแพงหลังเจียด
กำแพงก่ออิฐ สันกำแพงยกสูงเหมือนหลังคาเพื่อป้องกันคนยืนหรือนั่ง เจียดคือหีบหรือกระเป๋าหิ้วที่มีฝาปิด-เปิดเป็นสันสูงคล้ายสันหลังคา กำแพงที่มีสันจึงเรียกชื่อตามเจียดนี้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กุฏิ
สิ่งปลูกสร้างหรือตึก เป็นที่อยู่เฉพาะของผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์ เช่น พระสงฆ์ ฤาษี ฯลฯ มักเรียกที่อยู่อาศัยที่มีทางเข้าออกทางเดียว และมีผนังทึบตันล้อม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กุฏิแกลบ
อาคารขนาดเล็กที่พระสงฆ์ใช้ปฏิบัติธรรมเฉพาะรูป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กุดั่น
เครื่องปิดทองประดับกระจก เช่น ลายกุดั่น คือลายปิดทองประดับกระจก หรือ โกศกุดั่น คือโกศไม้หลักลายปิดทองและประดับกระจก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กูบ
ประทุนที่ติดกับสัปคับ ใช้เป็นหลังคาบังแดดบังฝน ทำด้วยเครื่องสาน ภายในบุจากหรือผ้า ผิวประทุนตอนบนยาด้วยชันหรือน้ำรักเพื่อกันน้ำรั่ว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
กู่
สถูปหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอนุสรณ์สถาน เช่น เจดีย์หรือที่บรรจุอัฐิธาตุ เป็นคำใช้เรียกสถาปัตยกรรมประเภทนี้ในภาคเหนือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เก๋ง
ก.เรือนมีหลังคาแบบจีน คือ หลังคาโค้งปลายงอน ข.ห้องมีลังคาคลุม ใช้ตั้งบนพาหนะหรือยวดยาน เช่น เรือที่มีห้องชิดนี้อยู่ด้วยก็เรียกห้องนั้นว่า เก๋งเรือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เก็จ
ก.แก้วประดับ ข.สิ่งที่ยกลอยขึ้นจากพื้นผิวเป็นรูปเหลี่ยม เรียกว่า เก็จ ย่อเก็จ ยกเก็จ บางทีเรียก กระเปาะ ยกกระเปาะ เช่น ใช้กับพระพุทธรูปที่เรียกว่า ฐานย่อเก็จ หรือใช้ยกเก็จจากผนังที่เรียบให้ดูเหมือนว่ามีเสาฝังอยู่ จะเห็นว่าลักษณะเช่นนี้ใช้ในอาคารประเภทปราสาทราชวังหรือวัด เพื่อประโยชน์ในการแก้ความเรียบในผนังผืนใหญ่ และเพื่อให้ล้อรับกับช่วงเสาที่มีอยู่ใกล้เคียง เช่น ที่ผนังที่หันหามุข หรือตอมุมอาคารที่มีเฉลียงอ้อม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกตุมาลา
หรือ รัศมีเปลว ก.รัศมีเหนือพระเศียรของพระพุทธรูป ทำเป็นรูปเปลวเพลิง ข.รัศมีเหนือพระเศียรพระพุทธเจ้า เกตุมาลาเป็นองค์ประกอบเชิงศิลปะทางด้านประติมากรรมเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเฉพาะในวงการช่างของชนชาติไทย พบว่าแบบที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้กับพระพุทธประติมากรรมแบบสุโขทัย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกย
ที่สำหรับขึ้นลงยานพาหนะในสมัยโบราณ เช่น ช้าง ม้า คานหามสำหรับพระมหากษัตริย์และจ้านาย สร้างเป็นยกพื้นก่ออิฐ มีบันไดเดินขึ้นลงได้สะดวกและมีความสูงตามลักษณะยานพาหนะที่ใช้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกยชัย
เกยใช้ในพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องใหญ๋ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกยพระราชยาน
เกยสำหรับเสลี่ยง (คานหาม) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกยลา
เกยที่สามารถยกเคลื่อนย้ายได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกยเสาตะลุงเบญพาด
เกยสำหรับเทียบประทับช้างพระที่นั่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกราะเพ็ชร
ลายประดิษฐ์เป็นเส้นขัดแบบเรขาคณิต ปัจจุบันเขียนว่า เกราะเพชร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกริน
ก.แท่นต่อสองข้างบุษบก ปลายสุดของแต่ละด้านยกลอยประดับกระหนก ใช้สำหรับตั้งฉัตร ข.แท่นต่อท้ายราชรถ ปลายยกลอยประดับกระหนก ใช้สำหรับเป็นที่นั่งของผู้แต่งตัวเป็นเทวดาประจำราชรถ ค.แท่นเลื่อนยกโกศบนรางกระไดนาค ชักลากด้วยเครื่องกว้าน เกรินเลื่อนกระไดนาคเป็นของที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษณ์มนตรี คิดสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ 2345 (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกล็ด
วัตถุที่นำมาเรียงทับซ้อนกัน มีระเบียบ เช่น กระเบื้องมุงหลังคาหรือซี่ไม้ซ้อนเหลี่ยมกันเป็นแถวขนาน เพื่อประโยชน์ในการระบายอากาศอย่างที่เรียกกันว่า เกล็ดใบปรือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เก้าอี้
แผ่นไม้ต่อขาทำเป็นที่นั่งห้อยเท้า มีพนักพิงหลัง เป็นครุภัณฑ์ที่รับอิทธิพลมาจากจีน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกียรติมุข
รูปหน้าอสูรประดับเหนือช่องซุ้มคูหาหรือทางเข้า มีที่มาจากสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ใช้ในหน้าที่ผู้พิทักษ์รักษาสถานที่ ทำนองเดียวกับรูปสิงห์คาบกระบี่ของจีน ไทยนำมาดัดแปลงเป็นรูปราหู ใช้เป็นลายประดับซุ้มเช่นเดียวกับคติของชวาในสมัยศรีวิชัย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เกี้ยว
ก. เครื่องประดับศีรษะ ทำสำหรับครอบผมจุก ใช้กับเจ้านายที่มีอายุน้อยและยังไว้จุก เกี้ยวประดับนี้จะยึดติดกับผมจุกได้โดยใช้ปิ่นเสียบผมเสียบไว้ด้วย ข. คานหามชนิดที่มีที่นั่งเป็นกระเช้าหรือตู้แขวนอยู่ตอนล่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แกนทราย
รูปโกลนของรูปปฏิมาก่อนจะปั้นพอกเป็นรูปเหมือนด้วยขี้ผึ้ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แกล
หน้าต่างอาคารที่เป็นพระตำหนักหรือตำหนักอื่นๆ ที่มิได้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์โดยตรง (หน้าต่างสำหรับอาคารที่ทรงใช้สอยโดยตรงเรียกบัญชร) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แกลบ
ก.ความหมายในทางช่าง หมายถึงสิ่งที่มีขนาดเล็ก เป็นของชนิดเดียวหรือคล้ายกันกับของที่มีใช้ โดยปกติซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น กุฏิขนาดเล็ฏใช้สำหรับปฏิบัติธรรมของพระภิกษุรูปเดียว เรียกว่า กุฏิแกลบ วิหารขนาดเล็กใช้สำหรับประดิษฐานรูปเคารพ แต่มิได้ใช้ในการทำสังฆกรรมเรียกว่า วิหารแกลบ ข.เปลือกข้าวที่สีเอาเมล็ดออกแล้ว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แก้ว
ก.หินโปร่งแสงที่มองเข้าไปภายในได้ เช่ นแก้วมณี แก้วผึก ข.สิ่งอันมีค่าเลิศ สิ่งอันเป็นของคู่บารมีพระเจ้า เช่น นางแก้ว ชุมพลแก้ว ช้างแก้ว ฯลฯ ค.สิ่งก่อสร้างหรือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ใช้สำหรับสิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะ เช่น เรือนแก้ว (ซุ้มพระ) กำแพงแก้ว ง.วัตถุสังเคราะห์ที่เกิดจากทรายขาว ให้ทำเป็นภาชนะใช้สอย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โก่งคิ้ว
น.องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นแผงประดับติดใต้ขื่อมุขด้านสกัดของอาคารทางสถาบันพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร หรือ หอไคร ฯลฯ เป็นองค์ประกอบที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับแผงที่เรียกว่า รวงผึ้งในสถาปัตยกรรมประเภทเดียวกันของภาคกลาง องค์ประกอบที่เรียกว่า โก่งคิ้วนี้ เป็นศิลปะเฉพาะของล้านนาและล้านช้าง ที่ชายขอบล่างมีลักษณะเป็นส่วนบนของวงโค้งสองวงมาบรรจบกันเป็นชายแหลมที่ตรงกลาง มองดูปลายรูปคิ้วคน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขนานน้ำ
สะพานหรือปูพื้นที่ทำคร่อมลงบนเรือหรือแพที่เรียงลอยขนานกันในน้ำ เพื่อใช้เป็นเครื่องรองรับ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ข่วง,ขวง
น.ลาน สนาม ที่โล่ง หรือบริเวณ เช่น วัดหัวข่วง หมายถึง วัดที่ตั้งอยู่บริเวณต้นทางเข้าเมือง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขอน
ไม้ท่อนขนาดใหญ่ที่ยังไม่ได้ทำการแปรรูป ไม้เช่นนี้นิยมเรียกโดยทั่วไปว่าขอนไม้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขะดาน
แผ่นวัตถุที่มีผิวหน้าเรียบ เช่น ขะดานหินหรือกระดานหิน คือแผ่นหินที่มีหน้าเรียบ ไม้กระดานคือไม้ที่มีผิวหน้าเรียบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขัดแตะ
แผงไม้รวกหรือไม้ไผ่ผ่าซีกสานสลับแนวไปตามทางตั้งหรือทางนอน ใช้ทำฝาโรงเรียนในชนบท (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขั้น
ก.ตัวไม้สำหรับเหยียบก้าวขึ้นลงบันได หรืออาจเรียกว่า ลูกคลัก ในกรณีที่เป็นไม้ท่อน หากทำเป็นไม้แผ่นกระดานแผ่นเดียวก็เรียกว่า ลูกนอน และถ้าหากมีไม้แผ่นปิดระหว่างขั้นที่เรียกว่า บังขั้นหรือลูกตั้ง ก็เรียกขั้นบันไดในลักษณะเช่นนั้นว่า ลูกหีบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขั่วย่าน
น.ไม้ลำยาวใช้ขนาบสองข้างใบดั้งของจั่วเรือนประมาณตอนกลางความสูงของใบดั้ง ใช้สำหรับปีนขึ้นซ่อมเครื่องมุงเมื่อชำรุดเสียหาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขาง
ไม้รอดรับพื้นเรือน เป็นคำที่ใช้ในภาษาไทยท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขาทราย
ท่อนไม้ค้ำยันสิ่งใดๆ ก็ตามที่ตั้งไว้ไม่ให้ล้มได้ง่าย ปลายไม้ค้ำอีกด้านหนึ่งฝังหรือยันอยู่กับพื้นดิน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขานาค
ลักษณะของส่วนยันพื้นของขาร้านยก เช่น ธรรมาสน์ สังเค็ด ฯลฯ เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปกรรม สมัยอยุธยา ประมาณรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ข้าวบิณฑ์
ก. กรวยข้าวเครื่องบวงสรวงสังเวย ประดับหุ้มกรวยใบตองด้วยพุ่มดอกไม้เป็นูปทรงดอกบัวตูม ข. เครื่องโลหะประดับยอดสถูป ปรางค์ หรือเจดีย์ทางพุทธสถาปัตยกรรม ลักษณะเช่นเดียวกับพานข้าวบิณฑ์เครื่องบวงสรวง ใช้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเรียกว่า พุ่มข้าวบิณฑ์ ค. ลายเขียนทางจิตรกรรม มีลักษณะเช่นเดียวกับพานข้าวบิณฑ์เครื่องบวงสรวง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขาสิงห์
ลักษณะของส่วนยันพื้นของตั่งหรือเตียงที่มีรูปคล้ายขาของสิงห์ในทางจิตรกรรม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขาหมู
ลักษณะของส่วนยันพื้นของขาตั่งหรือเตียงที่มีรูปคล้ายขาหมู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขื่อขัด
ชื่อไม้ตัวล่างซึ่งวางรองอยู่ใต้ขื่อของโครงจั่ว ขื่อขัดมีหน้าที่รับปลายดั้งที่แทงทะลุขื่อของโครงจั่วบนลงมา เพื่อช่วยบังคับให้ตัวดั้งเพิ่มความแข็งแรงในการทรงตัว ขื่อคัดนี้ใช้สำหรับรองโครงจั่วที่ตั้งแบ่งห้องตอนในของเรือนที่จำเป็นต้องใช้ดั้งแขวน เพื่อให้สามารถเปิดห้องสองห้องติดต่อถึงกันได้โดยไม่ต้องมีเสาดั้งกีดขวางเช่นที่ต้องมีที่ด้านฝาหุ้มกลอง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ขื่อ
ก. ส่วนของไม้เครื่องบน (ไม้โครงหลังคา) ใช้ยึดหัวเสาตามด้านขวางของห้องหรือตามแนวที่ใช้วางโครงจั่ว ข. เครื่องจองจำนักโทษทำด้วยไม้เจาะรู ประกับคอและข้อมือทั้งสองข้างของนักโทษ หรือเรียกว่า ขื่อคา คือให้มือและคอของนักโทษคาอยู่กับขื่อ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เข็ม
ก.เสาไม้ยาวใช้ตอกหยั่งลงไปในดิน เพื่ออาศัยความฝืดที่ผิวไม้เข็มช่วยให้หัวเข็มสามารถทานน้ำหนักกดบนผิวดินได้มากขึ้น ข.เข็มโลหะที่ใช้ฝังในผิวเนื้อคน เพื่อผลทางคงกระพันชาตรี (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เขามอ
ภูเขาที่ทำจำลองจากหินก้อนที่นำมาก่อเข้าด้วยกัน ทำขึ้นเพื่อตกแต่งสถานที่ เช่น ในพระบรมมหาราชวัง ในวัด ฯลฯ ตามเขามอมักประกอบด้วยรูปสัตว์ ตุ๊กตาคน เก๋งจีน หรือพุ่มไม้ดัด ทำให้คล้ายภูเขาจริงที่มีขนาดเล็ก เขามอชนิดนี้มีธรรมเนียมถือข้อห้ามว่าไม่ทำในบ้านเรือนของสามัญชน นอกจากในสถานที่ของผู้ที่มีบุญบารมีและศักดิ์สูงเท่านั้น คำว่า มอ ในที่นี้สันนิษฐานว่าจะเป็นคำที่ตัดสั้นมาจากคำเต็มว่า สมอ ในภาษาไทย หรือ ถมอ (ถะมอ) ในภาษาเขมรที่แปลว่าหิน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เข้าไม้
การนำไว้สองท่อนมาประกอบติดเข้าด้วยกันด้วยวิธีบาก เจาะเข้าเดือย ฯลฯ ตามวิธีการช่าง เพื่อให้เกิดการประสานกันอย่างมั่นคง มีความงดงาม เรียบร้อยและได้ประโยชน์ใช้สอย เช่น การเข้าไม้ปากกบบานประตูหรือหน้าต่าง หรือการต่อไม้เข้าด้วยกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เข้าลิ้น
การเพลาะไม้สองแผ่นให้ต่อกันสิทเหมือนไม้แผ่นเดียวกัน โดยใช้วิธีเซาะขอบไม้ทั้งสองแผ่นให้ไม้แผ่นหนึ่งมีขอบเป็นแกนบางเรียกวิ่ตัวผู้ ใช้อัดสอดเข้าไปในขอบของไม้อีกแผ่นหนึ่งที่เซาะร่องยาว เรียกว่า ตัวเมีย ให้ได้ขนาดพอดีที่จะสวมรับแกนบางของไม้ตัวผู้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เขียนหน้าภาพ
ภาพเขียนส่วนหน้าของตัวละครสำคัญในวรรณคดี ที่ใช้ในงานเขียนภาพผนังของไทย เขียนขึ้นตามลักษณะบังคับที่ครู้ผู้สอนกำหนด มีลักษณะเป็นลายเส้น เช่น เขียนหน้าภาพพระราม ทศกัณฐ์ ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เขี้ยวสุกร
ลิ่มไม้ขนาดเล็กอัดฝังในขอบไม้ตรงที่ไม้กระดานสองแผ่นถูกนำมาวางเรียงชิดกัน เพื่อต้องการให้ไม้กระดานทั้งสองแผ่นอ่อนตัวลงไปพร้อมกันเมื่อถูกน้ำหนักกด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โขลนเรือ
ปัจจุบันเขียนว่า โขนเรือ ไม้ฉลักรูปลอยตัวติดอยู่ตอนหัวเรือเป็นส่วนประกอบเพิ่มเตติมที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความงดงามในด้านศิลปะเพื่องแสดงศักดืของผู้เป็นเจ้าของ เช่นรูปนารายณ์ทรงครุฑ สุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราชที่ทำขึ้นประดับหัวเรือพระที่นั่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ไขรา
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นแผ่นไม้ปิดใต้ชายคา เฉพาะส่วนที่ยื่นพ้นผนังอาคารออกไปหาขอบของหลังคา หากส่วนที่ยื่นนั้นเป็นส่วนตรงจั่วหรือหน้าบันอาคารก็เรียกว่า ไขราหน้าบัน หรือไขราหน้าจั่ว หากส่วนยื่นนั้นเป็นหลังคาปีกนกก็เรียกว่า ไขราปีกนก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คต
ปัจจุบันเขียนว่า คด สิ่งปลูกสร้างรูปโรงหรือศาสลา แวดล้อมสิ่งสำคัญที่เป็นประธาน ซึ่งมักได้แก่ สถูป เมรุ โบสถ์ หรือวิหาร ฯลฯ คดนี้อาจสร้างได้ทั้งเป็นรูปผังสี่เหลี่ยมและผังกลม ดังเช่นผังคดสี่เหลี่ยมผนวกกับพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ผังคดกลมล้อมพระเจดีย์และผนวกกับพระอุโบสถวัดราชบพิธ องค์ประกอบอื่นทางสถาปัตยกรรมอันอาจนำมาสร้างผนวกเข้ากับคดเพื่อส่งเสริมให้สิ่งปลูกสร้างที่เป็นประธานมีความงามหรือมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิหารทิศ ประตูทิศ และซ่างหรือสำซ่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ครรภธาตุ
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับที่เรียกว่า เรือนธาตุ อันเป็นส่วนของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน ในกรณีที่เป็นองค์สถูปหรือพระเจดีย์ ครรภธาตุคือส่วนที่เป็นองค์ระฆังและในกรณีที่เป็นพระปรางค์ ครรภธาตุคือส่วนที่เป็นตัวอาคาร ที่มักนิยมสร้างซุ้มทิศหรือซุ้มจระนำประกอบไว้ด้วย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ครรภมณเฑียร
ส่วนของอาคารอันเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปหรือศิวลึงค์ในศาสนาพราหมณ์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ครัว
สถานที่ประกอบอาหารในครัวเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คฤห
เรือนหรือสิ่งที่มีรูปเป็นเรือนในสถาปัตยกรรมไทยมักใช้คำนี้ผนวกเข้ากับคำอื่น ไม่ใช้เรียกกับเรือนที่เป็นที่อยู่อาศัย เช่น รถคฤห เรือคฤห ประตูคฤห ฯลฯ ตัวอย่างที่พอชี้ให้เห็นได้ในปัจจุบันก็คือประตูคฤห ประตูที่มีเรือนอยู่ตอนบน เช่น ประตูเมืองนครราชสีมา ประตูกำแพงด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คลุ่ม
วัตถุหรือภาชนะส่วนที่เป็นเครื่องปิด บัง หรือกัน มีรูปทรงกลมและมีส่วนของขอบโค้งงุ้มลงสม่ำเสมอกันโดยรอบ เช่นลักษณะของฝาชี
ควงไม้
บริเวณภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ นับตั้งแต่ตรงส่วนกลางที่มีลำต้นตั้งอยู่และแผ่บริเวณออกไปในปริมณฑลที่สุดปลายกิ่งไม้ยื่น
ควั่น
น.องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทยภาคเหนือ ที่มูปลักษณะคล้ายเพดานห้อง ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นดครงแข็งหรือวางแผ่นกระดานเรียงชิดควั่นจะคลุมเนื้อที่เพียงครึ่งช่วงห้อง ทำหน้าที่เช่นเดียวกับห้องเพดาน ใช้เก้บหรือวางสิ่งของเหลือใช้ที่มีน้ำหนักไม่มากนัก โดยทั่วไปมักทำไว้เหนือเรือนโถง หรือเติ๋น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คอสอง
ตัวไม้ที่ทำหน้าที่คล้ายอเสยึดหัวเสา แต่เลื่อนระดับลงมายึดที่คอของหัวเสาในส่วนที่ต่ำกว่า อเสไม้คอสองจะมีได้ก็ต่อเมื่อต้องการใช้ในหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.ต้องการให้มีช่องระบายอากาศหรือระบายลมระหว่างไม้อเสกับไม้คอสอง 2.ต้องการให้เป็นที่พสดหัวไม้แปหรือไม้จันทันของหลังคาชั้นลด เช่นหลังคาระเบียง 3.ต้องการให้เป็นที่ยึดเกาะของไม้เคร่าตั้งของฝาเรือน ข้อมูลจาก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,สาส์น เล่ม 11, (พระนคร: องค์กาค้าคุรุสภา,2505),หน้า 183. (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คันบวย
ก.ไม้ยึดช่อฟ้าให้ติดกับไม้อกไก่ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ค้างคาว
ท่อนไม้ช่วงสั้นที่ต่อห้อยลงมาจากตัวไม้ตอนบน เพื่องใช้ปลายล่างจับยึดปลายของตัวไม้อื่นแทนการใช้ไม้ค้ำยัน เป็นตัวไม้ที่ใชเฉพาะส่วนที่เป็นโครงสร้างหลังคา ค้างคาวเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกเฉพาะในบางท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปจะเรียกองค์ประกอบเช่นนี้ว่า ลิ่มแขวน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ค้าง
ลำท่อนไม้หรือกิ่งไม้นำมาสะรวมกันเป็นทรงกระโจม เพื่อให้เถาไม้เลื้อยประเภทถั่วพลูขึ้นพัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คาน
ก.โครงสร้างส่วนที่รองรับตงและพื้น หรือพื้นอาคารโดยตรงตามที่โบราณ เรียกว่ รอด ข.ไม้สำหรับใช้หามของที่มีน้ำหนักมาก หรือหามแคร่ที่นั่ง ค.อาการที่ทำให้วัตถุค้างอยู่โดยใช้ไม้สอดขวางไว้ไม่ให้เลื่อนต่ำลงมา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คานเรือ
อู่ต่อหรืออู่ซ่อมเรือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ค่าย
รั้วที่ปักเรียงด้วยเสาไม้อย่างมั่นคงแข็งแรง เพื่อรักษาบริเวณที่ต้องการจะป้องกันให้พ้นตาดอันตรายจากการรุกรานของข้าศึกศัตรู นิยมสร้างขึ้นในท้องที่ที่ต้องการกองทัพรับศัตรู หรือสร้างขึ้นเป็นที่รวบรวมพลในพื้นที่ที่กองทัพมีอำนาจปกครองท้องถิ่นนั้นๆ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ค้ำ
การใช้ท่อนวัตถุเช่นไม้ยันสิ่งอื่นมิให้ทรุดต่ำลงกว่าสภาพเดิม เช่นการค้ำโครงสร้างอาคารมิให้ทรุดต่ำลง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คุม
ปรุงหรือประกอบ หรือสร้าง หรือทำให้เกิดเป็นรูปทรงขึ้นตามวิธีการปลูกสร้าง เช่ม คุมเรือนหรือปรุงเรือนตามภาษาที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
คุ้ม
เขตที่อยู่ของเจ้าผู้ครองนครทางภาคเหนือ เทียบเท่ากับวังซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าในภาษาไทยภาคกลาง ตัวอย่างใช้เรียก เช่น คุ้มเจ้าหลวง คุ้มเจ้าราชบุตรและเป็นคำเดียวกับที่ใช้ในภาษาไทยทางภาคอีสานและในประเทศลาวว่า เค้าสนามหลวง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เครื่องบน
เครื่องไม้หรือตัวไม้ทุกชิ้นที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนของโครงหลังคา และส่วนของหลังคาทั้งหมด ตัวไม้นี้ หากเป็นไม้เนื้อแข็งหรือที่เรียกว่า ไม้จริง ในสมัยโบราณจะเรียกว่า เครื่องประดุ(ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เครื่องเรือน
ครุภัณฑ์หรือเครื่องใช้เพื่อความสะดวกในการอยู่อาศัยในอาคาร เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เครื่อง
สิ่งที่เป็นชิ้นส่วนประกอบในการทำให้เป็นรูปสำเร็จเกี่ยวกับอาคาร อันอาจเป็นชิ้นส่วนของตัวไม้หรือชิ้นส่วนวัสดุต่างๆ เช่น ไม้เครื่องบน หมายถึง ชิ้นส่วนของตัวไม้ต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นโครงหลังคา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โครง
ซี่ไม้ท่อนที่นำมาต่อกันเป็นรูปสิ่งปลูกสร้างตามที่ต้องการ โดยยังไม่มีการมุงหรือหุ้มหลังคา หรือทำผนัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
งัว
ท่อนไม้ยาวประมาณ 1 ศอก วางเป็นคู่รองใต้ไม้แระเพื่อให้ฐานเสาเรือนมีความมั่นคงยิ่งขึ้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
งาแซง
ก.ซี่ไม้ปลายแหลมใช้เสียบสวนทางออกของปากช่องดักสัตวื เช่น ทำติดกับช่องกระจู้ดักปลาไหล ข.ไม้เสี้ยนปลายแหลมวางเอนเรียงเป็นตับเพื่อใช้ป้องกันข้าศึกศัตรู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
จงกรม
วิหารคดหรือระเบียงล้อมโบสถ์หรือวิหาร (ข้อมูลจาก พระอาจวิทยาคม,พจนานุกรมไทย-อังกฤษ,พระนคร:โรงพิมพ์บางกอกไทม์,2484),หน้า 227.) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
จวน
น.อาคารที่อยู่อาศัยของผู้ปกครองเมือง (เจ้าเมือง) หรืออาคารที่อยู่อาศัยของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ เช่น ใช้เรียกจวนอุปราชมณฑลจวนเจ้าเมือง จวนสมุหเทศาภิบาล คำว่า "จวน" เป็นภาษาทางภาคเหนือเทียบเท่ากับคำว่า "ทำเนียบ" ในภาษาไทยภาคกลาง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
จอมแห
รูปทรงกระโจมที่มีฐานกว้าง ยอดรวบแหลม และมีรูปเส้นขอบนอกอ่อนโค้งตกท้องช้างเข้าหาด้านใน ความโค้งที่เส้นขอบนอกของรูปจอมแหนี้จะมีมากที่ตอนใกล้ฐาน และความโค้งตกท้องช้างนี้มีรูปเทียบกับเส้นขอบนอกของแตรฝรั่งที่วางให้ปากติดกับพื้น วิธีหาทรงจอมแหที่ได้ทรวดทรงงามตานั้น โบราณใช้แส้นสายสร้อยทองที่มีน้ำหนัก 1 บาท จับยกขึ้นที่ตอนกลาง จะทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยมด้านข้างโค้งตกท้องช้าง รูปจอมแหนี้ใช้ในงานสถาปัตยกรรมเพื่อหาส่วนทรงของเจดีย์ ยอดมณฑปทรงจั่ว เรือนจั่ว โบสถ์ ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
จัตุรมุข
หน้าจั่วอาคารที่ทำแยกออกเป็นสี่ทิศ มีผังอาคารเป็นรูปกากบาท หลังคาชนิดนี้มักนิยมนำมาประกอบกับอาคารที่เป็นมณฑป พลับพลาพระที่นั่ง ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
จันทน์
ก.ไม้เนื้อหอมใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า ใช้สร้างเรือนหลวง เป็นไม้มีราคาสูงในสมัยโบราณ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
จั่วพระอาทิตย์
แผ่นไม้รูปสามเหลี่ยมอุดโครงจั่วหลังคาทางด้านสกัดของเรือน ประกอบด้วยไม้แผ่นเหล็กหลายแผ่นกรุเป็นรูปพัดคลี่ มีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงส่วนโคนดั้ง และตรงศูนย์รวมของแฉกไม้แผ่นนี้จะมีแผ่นไม้รูปครึ่งวงกลมอีกแผ่นหนึ่งปิดทับ ทำให้ดูคล้ายรูปพระอาทตย์ทอรัศมีแผ่กระจายไปยังขอบโครงจั่ว จั่วพระอาทิตย์นี้มักนิยมทำปิดด้านสกัดของเรือนครัว ตอนปลายของแฉกรัศมีของพระอาทิตย์ จะเปิดช่องว่างระหว่างซี่ไม้ที่ห่างกัน เพื่อให้ควันไฟระบายออกทางหลังคาส่วนนี้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
จาด
สีขาวที่ใช้ทาฝาเรือนและอื่นๆ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฉาก
ก.แผงบังตา มีขาตั้ง ใช้กั้นส่วนที่เป็นรโหฐาน เป็นครุภัณฑ์ชนิดเดียวกับที้รียกว่าลับแล ในสมัยโบราณนิยมขึงผ้าเขียนภาพเรื่อง ข.แผงผ้าขนาดใหญ่ประกอบโครงไม้หรือขึงแบบม่าน เขียนภาพสีเป็นอาคารหรือภาพทิวทัศน์ ใช้ประกอบหลังเวทีละครเพื่อช่วยให้การแสดงดูคล้ายอยู่ในสถานที่จริง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฉากญี่ปุ่น
แผงบังตาที่ประกอบด้วยแผ่นพับหลายแผ่น ยืดและหดให้สั้นได้พอประมาณมีลักษณะการยืดและหดพับคล้ายพัดญี่ปุ่นหรือฝาเฟี้ยม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฉำฉา
ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อนประเภทไม้สนหรือไม้ก้ามปู ใช้ในงานปลูกสร้างชั่วคราวทั่วๆไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เฉลว
ก.เครื่องกั้นเขตห้าม ห้ามแตะต้อง ห้ามล่วงสิทธิ์ มีรูปลักษณะดังภาพ โบราณใช้ปักฝาหม้อยาเพื่อป้องกันผู้อื่นเปิด หากปักอยู่ตามสิ่งที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านรือ แพ ฯลฯ ก็หมายถึงห้ามละเมิดสิทธิ์ ข.สิ่งใดที่ประสงค์จะแจ้งขายก็ใช้เฉลวปักหรือแขวนไว้เช่นกัน ค.เครื่องป้องกันรังควานหรือเครื่องอาถรรพ์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เฉลียง
ชานยกพื้นข้างอาคาร ไม่มีหลังคาคลุม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โฉนด
หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีรูปที่ดินและหมุดหลักเขตแสดงเป็นหลักฐานทางกฎหมาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่วง
ก.ระยะหรือตอนที่สามารถกำหนดหรือเทียบสัดส่วนให้รู้ได้แน่นอน ข.ระยะที่ต่อเนื่องไม่ขาดตอนในระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องโคม
ช่องหน้าต่างเจาะในผนังปูนเป็นกรอบรูปโคมแบบประยุกต์ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย อิทธิพลยุโรป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องดอกจันทร์
ช่องหน้าต่างเจาะในผนังปูนเป็นรูปดอกจันทร์แบบประยุกต์ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย อิทธิพลยุโรป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องตีนกา
ช่องก่ออิฐโปร่งหรือก่อเป็นช่องลึกเป็นรูปกากบาททางเรขาคณิต (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องถุน
ช่องใต้ส่วนที่เป็นยกพื้นของร้านนั่งที่ต้องการให้เห็นโปร่ง พร้อมกันนั้นก็แต่งไม้แกงแนงไขว้กันโยกให้เป็นเครื่องประดับขาร้านไปด้วยตัว ช่องถุนนี้นิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องปรุ
ช่องก่ออิฐโปร่งเพื่อประโยชน์ในการระบายอากาศภายในอาคาร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องไฟ
ระยะที่ทิ้งห่างระหว่างเส้นลากเพื่อให้เกิดความงามและมีความสัมพันธ์กับแนวเส้นลากนั้น เช่นระยะทิ้งห่าง ช่องตัวหนังสือที่เรียงต่อกันเป้นแถวหรือระยะห่างระหว่างลายที่ผูกขึ้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องแมวรอด
ช่องว่างระหว่างพรึงเรือนกับพื้นชานพาไล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องย่อมุมไม้
ช่องหน้าต่างเจาะในนังปูนเป็นรูปเหลี่ยมย่อมุมไม้แบบประยุกต์ของสมัยอยุธยาตอนปลาย อิทธิพลยุโรป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องลม
ฝาเรือนที่มีส่วนเปิดโปร่งตอนชิดใต้แผงกันสาดหลังคา เพื่อให้ลมผ่านได้สะดวก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่องสี่กลีบ
ช่องหน้าต่างเจาะในผนังปูนเป็นกรอบรูปของดอกสี่กลีบแบบประยุกต์ของสมัยอยุธยาตอนปลาย อิทธิพลยุโรป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่อฟ้า
ชื่อขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นเครื่องประดับหลายหลังคา นั่งอยู่บนสันอกไก่ตรงส่วนที่ไม้ ตัวรวยหรือไม้นาคสำรวยมาบรรจบกัน ช่อฟ้านี้มีรูปลักษณะคล้ายหัวพญานาคปลายแหลม มีจงอยติดอยู่ตอนล่าง จงอยนี้มีทำเป็น 2 แบบ คือ จงอยปากครุฑและจงอยปากหงส์ ช่อฟ้านี้อาจทำเป็นรูปอื่นแปลกไปได้ เช่น ทำเป็นรูปหัวนกเจ่าหรือรูปเทพ รูปเทวดา หรือ รูปดอกบัว ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่างไม้สูง
ช่างไม้ที่มีความถนัดในการประกอบอาคารเครื่องยอดหรือหลังคาที่ต้องประกอบด้วยเครื่องไม้อย่างประณีต เช่น หลังคามณฑปหรือเครื่องลำยอง ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ช่าง
ก.ผู้เชียวชาญในวิชาการด้านศิลปะ ที่ต้องใช้สติปัญญาในการสร้างสรรค์เป็นหลักประกอบการทำงาน เช่น สถาปนิก วิศวกร จิตรกร ประติมากร ฯลฯ ข.ผู้เชี่ยวชาญในงานที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญเป็นหลักในการทำงาน เช่น ช่างกระจก ช่างปูน ช่างทอง ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ชาน
ก.บริเวณปูพื้นที่อยู่นอกชายคาเรือน หรือพื้นที่ต่อจากตัวเรือนออกไปกลางแจ้งที่เรียกว่า นอกชาน ข.ส่วนที่ออกนอกไปจากส่วนที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ เช่น ชานเรือน ชานชาลา ชานเมือง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ชานแล่น
ชานที่สร้างผ่านหน้าเรือนพะไลของเรือนหมู่หรือแถวกุฏิสงฆ์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ชายคา
องค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนของหลังคาด้านต่ำตามยาวของตัวอาคารและเป็นส่วนที่ยื่นพ้นจากฝาหรือผนังอาคารออกไป ใช้ประโยชน์สำหรับกันฝนหรือแดดถูกฝาหรือผนัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ชุกชี
ฐานปูนก่อประดับลวดลายเป็นฐานขนาดใหญ่ยกขึ้นรับพระประธานอาคารทางศาสนา (ไม้ใช้สำหรับบ้านเรือน) มีลักษณะขอบฐานล่างใหญ่ก่อย่อลดเป็นชั้นขึ้นไปหาส่วนที่รับฐานพระองค์ เป็นคำเดิมในภาษาเปอร์เซียร์ว่า ชูกาเชอร์ ซึ่งแปลว่าที่นั่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เชิง
ส่วนล่าง ขอบล่าง ปลาย ส่วนที่รองรับ ตีน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เชิงกระจับ
เครื่องแขวนใช้ประดับสถานที่ที่ใช้ในการพิธีทางศาสนา เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดต่างๆกัน ทำด้วยโครงไม้ไผ่ขัดไขว้เป็นรูปกากบาท ถักเรียงด้วยเส้นเชือกสีต่างๆ เป็นแผ่นทึบ มีหลักการทำเช่นเดียวกับปลาะตะเพียนแขวนเปลเด็ก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เชิงกลอน
แผ่นไม้ติดปลายกลอนยาวตลอดความยาวของชายคา อยู่ใต้แนวกระเบื้องตัวล่างสุดของชั้นหลังคา ถ้าเครื่องไม้หลังคาใช้จันทันตามแบบหลังคาจั่วในปัจจุบัน ตัวไม้เชิงกลอนนี้ก็เรียกเชิงชายแทน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เชิงชาย
แผ่นไม้ปิดปลายจันทันยาวตลอดความของชายคา อยู่ใต้แนวกระเบื้องตัวล่างสุดของชั้นหลังคา ถ้าเครื่องไม้หลังคาใช้กลอนตามแบบเรือนไทยโบราณแผ่นไม้เชิงชายนี้ก็เรียกเชิงกลอนแทน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เชิงพล
ชานเดินบนหลังกำแพงเมืองส่วนที่อยู่หลังใบเสมาหรือที่เรียกว่า ลูกป้อม เป็นที่ให้ทหารขึ้นอยู่ประจำหรือขึ้นต่อสู้ข้าศึกศัตรู เป็นคำที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เชิงเทิน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซอก
ก. ช่องที่เหลืออยู่แคบ เช่น ซอกประตู ซอกเขา ข. ทางเดินแคบที่พอเดินเรียงัวเข้าไปได้ มีขนาดเล็กกว่ารอก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซอย
หนทางที่ทำขึ้นแยกจากตรอกหรือถนนเข้าไปในบริเวณทีพักอาศัย มีปลายทางตัน มีขนาดไม่ใหญ่กว่าถนนต้นทาง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซุ้มคูหา
ช่องที่เจาะลึกเข้าไปในผนัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซุ้มจรณัม
ปัจจุบันเขียนว่า ซุ้มจระนำ ซุ้มคูหาเล็กที่ทำติดกับผนังอาคารหรือองค์เจดีย์ ซุ้มนี้มีหลังคารอบยื่นล้ำผิวผนังอาคารหรือองค์เจดีย์ออกมาเล็กน้อย ส่วนที่เป็นมุขหลังคายื่นออกมามักทำเป็นเสาย่อเก็จแนบติดกับผนังรับไว้ ซุ้มจระนำนี้โดยทั่วไปใช้เป็นที่ตั้งพระพุทธรูปหรือรูปพระปั้นนูนติดผนัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซุ้มทิศ
ก. ซุ้มคูหาซึ่งทำขึ้นประกอบมุขพระอุโบสถหรือพระวิหารที่ตรงจั่วอาคารภายในเป็นที่บรรจุพระพุทธรูป ข. ซุ้มคูหาซึ่งทำขึ้นประกอบองค์เจดีย์หรือพระปรางค์ตรงส่วนเรือนธาตุหรือองค์ระฆังจำนวน 4 ซุ้ม ตรงกับทิศสำคัญคือทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ภายในเป็นที่บรรจุพระพุทธรูป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซุ้มปรก
ซุ้มคูหาที่พระภิกษุใช้นั่งบริกรรมเพียงรูปเดียว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซุ้มรังไก่
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในส่วนที่เป็นรูปหน้าจั่วเครื่องลำยองขนาดเล็ก ที่นำมาเรียงเป็นจังหวะตามขอบของชั้นหลังคาซ้อนของยอดบุษบกหรือยอดมณฑป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ซุ้มหน้านาง
ซุ้มที่ทำส่วนหน้าบันให้มีลักษณะเปิดโค้งเหมือนกังครอบหน้าผากหรืออุณหิสของสตรี (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เซง
ไม้สอดตามแนวนอน ใช้เป็นโครงกรุแฝก ไม้ลูกเซงจะยึดติดกับไม้ตั้งที่ทำด้วยซี่ไม้ไผ่ผ่าซีก ฝาชนิดนี้โดยทั่วไปเรียกว่า ฝาสำหรวด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐาน
องค์ประกอบส่วนที่มใช้รองรับสิ่งอื่น มีชื่อตามลักษณะที่ประดิษฐ์และหน้าที่ใช้สอยดังนี้ 1.ฐานเขียง 2.ฐานบัทม์ 3.ฐานหน้ากระดานท้องไม้ 4.ฐานลูกฟัก 5.ฐานรูปแบก เช่น ครุฑแบก ยักษ์แบก เทพนม ฯลฯ 6.ฐานสิงห์ 7.ฐานบัว 8.ฐานเชิงบาตร (เฉพาะชนิดที่มีรูปทรงกลม) 9.ฐานกลีบบัว 10.ฐานเบญจา 11.ฐานแว่นฟ้า (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานกลีบบัว
ฐานรองรับที่ทำเป็นรูปกลีบบัว ทั้งที่ทำเป็นรูปกลีบบัวหงายชั้นเดียวและทำเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายประกบกัน มีคติที่มาทั้งทางศาสนาพราหมณ์และทางพระพุทธศาสนา การใช้ฐานชนิดนี้มักนิยมทำเป็นรูปฐานรองรับเทวรูปพระพุทธรูป พระเจดีย์ หรือสิ่งที่เป็นที่สักการะในศาสนาทั้งสอง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานเขียง
องคค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นแท่งรองรับสิ่งอื่น ฐานเขียงเป็นฐานชั้นล่างสุด มีรูปเรียบง่าย เช่น ฐานล่างสุดที่ใช้รองรับบุษบกเจดีย์ ธรรมาสน์ ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานเชิงบาตร
ฐานรองรับปากระฆังขององค์เจดีย์กลม รูปฐานประกอบด้วยขอบบัวคว่ำและบัวหงาย มีหน้ากระดานท้องไม้หน้าแคบคั่นระหว่างตัวฐานมีลักษณะกลมตามองคืเจดียื มีรูปทั่วไปคล้ายเชิงบาตรของพระภิกษุ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานทักษิณ
เป็นส่วนฐานที่รองรับองค์เจดีย์ มีทางเดินรอบองค์เจดีเพื่อประโยชน์ในการใช้เดินเวียนรอบกระทำการบูชาต่อองค์พระเจดีย์ ทางเดินนี้มักทำเป็นทางเดินแคบๆ พอเดินได้สะดวก หรือเดินคนเดียวได้สะดวก หรือเดินเคียงกันได้น้อยคน ฐานทักษิณนี้มีที่มาจากคำว่าประทักษิณ ลักษณะที่องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานทักษิณนี้ก็เป็นทำนองเดียวกับที่ตัวโบสถ์ตั้งอยู่บนฐานไพที (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานบัทม์
แท่นฐานชนิดที่ประกอบด้วยบัวค่ำและบัวหงาย คั่นกลางด้วยส่วนที่เรียกว่า หน้ากระดานท้องไม้ ฐานชนิดนี้เป็นฐานที่มีแนวหน้ากระดานบนและหน้ากระดานล่างเสมอกัน ตรงส่วนลึกสุดที่เรียกว่าหน้ากระดานท้องนั้นจะมีลวดบัวลูกแก้วประกอบหรือไม่ก็ได้ นอกจากนี้องค์ประกอบเชิงศิลป์อื่นๆก็อาจจะนำมาประดับเพิ่มเติมได้ในกรณีที่ไม่ทำให้เสียรูปเดิม ฐานบัทม์นี้นิยมทำเป็นฐานรองรับในชั้นถัดสูงขึ้นไปจากฐานเขียง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานบัวคว่ำบัวหงาย
ฐานรองรับทีทำขึ้นมีรูปลักษณะตามด้านข้างของกลีบดอกบัว มีรูปเป็นกลีบบัวหงายอยู่ตอนบนและมีรูปบัวคว่ำอยู่ตอนล่าง มีความยาวของรูปบัวต่อเนื่องกัน อาจไม่แสดงรายละเอียดของกลีบให้ปรากฏ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานบัวค่ำ
ลักษณะตอนล่างของส่วนฐานของอาคารที่ทำเป็นรูปบัวคว่ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานสิงห์
ฐานรองรับรูปแท่นประดับขาสิงห์ ใช้สำหรับเป็นฐานรับสิ่งที่มีค่าควรสักการะ เช่น ฐานรับพระพุทธรูป พระเจดีย์ หรือฐานบัลลังก์ ฯลฯ มีที่มาจากการนำสัตว์ที่น่าเกรงขามมาผูกไว้ที่หน้าที่นั่งของผู้ทรงอำนาจในสมัยโบราณ ต่อมาเมีการคิดดัดแปลงทำเป็นรูปสัตว์ชนิดนั้นติดไว้ข้างที่นั่งเพื่อเป็นการแสดงเกียรติและอำนาจ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดอก
ลายภาพหรือส่วนที่ปั้นฉลักให้เป็นรูปลักษณะคล้ายดอกไม้ในขบวนการช่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดอกจันทน์
ลายหรือดอกรูปทรงกลมหรือรูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยกลีบดอกโดยรอบ ใช้ประดับตรงส่วนตัดของเส้นหรือแผ่นที่เป็นทางยาว หรือใช้เรียงประดับตามแนวยาวของร่องห้ากระดานที่มีขนาดเล็ก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดอกไม้ร่วง
รูปลายดอกอิสระ ใช้วางหรือเขียนเว้นช่องไฟในจังหวะห่างนิยมใช้เป็นลายประดับเพดานหรือผนังอาคารที่เป็นสถาบันทางศาสนา เป็นภาพเขียนเพดานหรือพนังแทนดอกไม้ที่เทวดาดปรยลงมาจากสวรรค์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดอกไม้ไหว
ดอกไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยกระดาษสีหรือแผ่นโลหะอ่อน ต่อก้านด้วยลวดเพื่อให้ก้านอ่อนและเคลื่อนไหวได้เหมือนของธรรมชาติ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดอกลอย
รูปหรือลายเขียนเป็นดอกไม้ หรือรูปดอกประดิษฐ์ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน มีระยะวางรูปดอกอย่างมีระเบียบเป็นอิสระลอยตัว ไม่มีเส้นหรือลายใดๆ มาเชื่อมโยงระหว่างดอกเลย ดอกลอยชนิดนี้หากมีรูปเขียนเป็นดอกคล้ายธรรมชาติ มีก้านดอกอยู่ตอนบนก็เรียกว่าลายดอกไม้ร่วง นิยมใช้เป็นลายเขียนผนัง เพดานหรือใช้เป็นลายเขียนผ้า (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดอกลอยก้านแย่ง
รูปหรือลายเขียนเป็นดอกไม้หรือรูปดอกประดิษฐ์ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน มีระยะวางรูปดอกอย่างมีระเบียบ และมีเส้นลายเชื่อมทะแยงระหว่างดอกต่อดอก ลายทแยงระหว่างดอกนี้เรียกว่า ลายก้านแย่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดอกสี่กลีบ
ลายรูปดอกไม้ประดิษฐ์ มีกลีบดอกปลายแหลมแยกออกจากวงเกสรตอนกลางสี่กลีบ ลายรูปดอกทั้งรูปอยู่ในทรงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดั้ง
ก.ใบดั้ง ไม้แผ่นแบนคล้ำอยู่ตรงส่วนกลางของรูปสามเหลี่ยมของโครงจั่ว โคนใบดั้งจะนั่งอยู่บนท่อนไม้ที่เรียกว่าขื่อ ส่วนปลายดั้งตอนบนจะทำหน้าที่รับไม้อกไก่ที่อยู่ตรงสันหลังคา ข.ดั้งแขวน ใบดั้งเช่นเดียวกับ ก. แต่ปล่อยให้โคนใบดั้งทะลุไม้ขื่อลงมานั่งบนไม้คอสองซึ่งติดอยู่ตอนล่าง เพื่อช่วยให้โครงจั่วมีความแข็งแรงและทรงตัวได้มั่นคง โครงจั่วชนิดที่ใช้ดั้งแขวนนี้จะทำเฉพาะโครงจั่วที่อยู่บนเสาร่วมในเรือนเท่านั้น และจะไม่ทำจั่วที่มีดั้งแขวนกับฝาด้านสกัด หรือจั่วที่มุขของเรือเท่านั้น ค.ดั้งลอย ดั้งชนิดที่ใช้เกลมตั้งตรงกึ่งกลางด้านสกัดของเรือน โครงดั้งนั่งอยู่บนไม้รอด ลำเสาตอนปลายบนยันไว้กับใต้ท้องขื่อไม้ ต่อจากไม้ขื่อขึ้นไปเป็นแผ่นใบดั้งเช่นเดียวกับ ก. (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดาก
แกนที่ต่อลงมาตอนใต้ของวัตถุอื่นเพื่อใช้ฝังลงไปในที่รองรับ เช่น ดากหัวนาคกระเบื้อง ใช้สำหรับปักฝังในเนื้อปูนเพื่อให้หัวนาคกระเบื้องติดแน่นบนพื้นที่ตั้ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดาดฟ้า
หลังคาอาคารที่ทำเป็นพื้นเรียบ สามารถใช้ประโยชน์ได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดาน
สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในตรง่สวนกลางของบานหน้าต่างหรือประตูตามแนวนอนทำหน้าที่บังคับไม่ให้หน้าต่างหรือประตูเปิด ดาลคู่ใช้สำหรับประตู ดาลเดี่ยวใช้สำหรับหน้าต่าง การใส่ดาลเรียกว่า ขัดดาล หรือ ลั่นดาล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดาวเพดาน
องค์ประกอบเชิงศิลป์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับฝ้าเพดานของอาคารทางศาสนาหรืออาคารราชสำนัก ไม่ใช้กับกุฏิสงฆ์หรือเรือนของสามัญชน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ดุ้ง
อาการโก่งของไม้ในส่วนที่ควรจะตรงโดยปกติ หรืออาการโก่งของวัตถุอื่นที่มีความยาว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เดี่ยว
ความสูงของเรือนที่กำหนดเรียกโดยทั่วไป เดี่ยวเรือนแบ่งความสูงไว้เป็น 2 ระยะ คือ เดี่ยวล่างและเดี่ยวบน 1. เดี่ยวล่างถือว่าเป็นช่วงกำหนดความสูงตั้งแต่ระดับพื้นดินถึงพื้นเรือน 2. เดี่ยวบนถือว่าเป็นช่วงกำหนดความสูงตั้งแต่ระดับพื้นเรือนจนถึงระดับขื่อที่ปลายเสา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เดือย
หมุดไม้ใช้สำหรับตอกลงไปในรูที่เจาะทะลุผ่านตัวไม้ต่างชื้นหรือต่างท่อนกัน เพื่อต้องการให้ตัวไม้ทั้งสองชิ้นหรือท่อนนั้นติดกันแน่นไม่ขยับเขยื้อน เดือยไม้เช่นนี้เมื่อถูกตอกอัดจนแน่นแล้ว เดือยส่วนที่ยาวเกินต้องการจะถูกตัดให้เรียบเสมอผิวไม้ทั่วไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ต้น
ลำของต้นไม้ ลำเสา มีหน่วยเรียกเป็น ต้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตอ
ก.ส่วนของลำต้นไม้ที่ลำต้นตอนบนขาดหรือถูกตัดขาด มีลำต้นเหลือโผล่พ้นพื้นดินเล็กน้อย ข.ส่วนของตอม่อเรือนที่โผล่พ้นดินเหลือทิ้งอยู่ เมื่อตัวเรือนเดิมผุพังหรือรื้อถอนไปแล้ว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตอก
เส้นไม้ที่ได้จากไม่ไผ่ ใช้สำหรับผูกมัดสิ่งของหรือวัสดุปลูกสร้างที่มีขนาดเบา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตองตึง
น.ต้นไม้ชนิดหนึ่งมีในภาคเหนือ ใบมีขนาดใหญ่ใช้ห่อของหรือผูกเข้าตับใช้มุงหลังคา ทำฝาเรือน ใบไม้ชนิดนี้ในบางท้องถิ่นเรียกว่า ใบพลวง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตะเกียบ
เสาคู่ขนาบโคนเสาธงที่มีขนาดใหญ่และสูงมาก หรือใช้กำกับโคนเสาชิงช้า (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตะเฆ่ราง
ส่วนของผืนหลังคาสองระนาบที่มาบรรจบกันเป็นรางมุมหักฉาก และเป็นที่รองรับน้ำฝนจากพื้นหลังคาทั้งสองระนาบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตะเฆ่สัน
ส่วนของผืนหลังคาสองระนาบที่มาบรรจบกันเป็นสันมุมหักฉาก เช่นหลังคาเรือนแบบมนิลา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตะปูจีน
เหล็กรูปสี่เหลี่ยมปลายเรียวแหลม มีหัวงอพับเป็นมุมฉาก ความดตของหน้าตัดส่วนที่โตสุดขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 5 นิ้วฟุต ใช้สำหรับติกยึดตัวไม้ในดครงสร้างของเรือนเครื่องไม้จริงแทนการเข้าเดือยในงานที่ไม่ต้องการฝีมือประณีต (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตั่ง
ผืนไม้กระดานประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนมีขนาดเล็กและมีขาค้ำต่ำกว่าเตียง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตับ
สิ่งที่ได้จากการนำแผ่นวัตถุหรือสิ่งของมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เพื่อให้ประโยชน์ในรูปที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น ตับจาก นำไปใช้ทำฝาหรือมุงหลังคาโรงเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตัวไม้
ไม้ที่แต่งเรียบร้อยพร้อมที่จะนำเข้าประกอบเป็นรูปทรงเพื่อการปลูกสร้าง ไม่ว่าไม้นั้นจะเป็นส่วนประกอบตอนใดของเรือน ชิ้นส่วนที่เป็นไม้นั้นๆ เรียกว่า ตัวไม้ ทั้งสิ้น(ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตัวรวย
ชื่อขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นตัวไม้ปิดปลายระแนง รับกระเบื้องหลังคา แผ่นไม้นี้จะวางตามตั้งดัดโค้งแอ่นไปตามความโค้งของขอบลาดหลังคา ตัวไม้นี้หากนำมาประกอบเรือนพักอาศัยก็เรียกว่า ไม้ปั้นลม ตัวรวยนี้ใช้บางช่างเรียกชื่อว่า นาคสำรวย หรือ รวยระกา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตัวลำยอง
ชื่อขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นไม้ปิดปลายระแนงรับกระเบื้องหลังคาเรียกเฉพาะส่วนที่ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนลำตัวพญานาค เลื่อยคล้องไม้หัวแป ทอดตัวห้อยลงเบื้องล่างเป็นรูปคล้ายกริชชวา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตัวเหงา
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้เกิดจังหวะหยุดของชายปั้นลมตอนล่างของเรือนไทย รูปคล้ายธงสามเหลี่ยมมีปลายถูกลมพัดปัดขึ้นตอนบน ในสถาปัตยกรรมท้องถิ่นอื่น เหงาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามแบบนิยมหรือตามแบบอย่างของสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นนั้นๆ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตาไม้
ส่วนที่เป็นตำหนิในเนื้อไม้ ในตำราการปลูกสร้างเรือนในสมัยโบราณถือว่าตำแหน่งของตาไม้มีผลต่อผู้อาศัยในทางที่เป็นมงคลและอัปมงคล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ต้าย
เสาระเนีดยหรือเสารั้วที่มีบันไดสำหรับให้คนก้าวข้ามแทนการทำประตู ทำขึ้นเพื่อป้องกันสัตว์ล่วงล้ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตาราง
ช่องที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตำหนัก
ก.อาคารที่อยู่ขอพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายในราชสกุลตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ข.อาคารที่อยู่ของพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จขึ้นไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตำหนักจันทน์
เรือนที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ใช้ไม้จันทน์ที่มีค่าและมีกลิ่นหอมมาปรุงเป็นเรือน ไม่ปรากฏใช้นี้สร้างเรือนราษฎรสามัญหรือเจ้านายที่มิใช่พระมหากษัตริย์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตำหนักทอง
เรือนฝาไม้กระดาน สร้างขึ้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ ฝาเรือนเขียนลายรดน้ำเพื่อให้เป็นเครื่องประดับต่างไปจากตำหนักเจ้านายหรือเรือนสามัญ ตำหนักทองจึงเป็นชื่อเรียกตามที่มีการปิดทองด้วยวิธีทำลายรดน้ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตีนผี
ส่วนของชิ้นไม้ตอนใต้หางหงส์ สอดอยู่ระหว่างปลายแปหัวเสาและไม้เชิงกลอน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตีผัง
การปักหลักและขึงเชือกบอกแนวอาคารและจุดศูนย์เสาลงในที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง เพื่อเป็นที่หมายในการทำงานของช่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตึก
อาคารที่ก่อประกอบรูปทรงขึ้นด้วยอิบ มีปูนก่อเป็นเชื้อประสาน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตึกแถว
อาคารก่ออิฐเป็นห้องลึกเรียงติดต่อกันไปตามความยาว ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการค้าขาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตุงกระด้าง
ไม้ฉลักแผ่นยาวทำเป็นรูปธงปฎาก สำหรับเจ้าครองนครทำขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา มีรูปพญานาคเป็นสัญลักษณ์ และมีรูปแบบแตกต่างกันเป็นแบบเฉพาะของเจ้าครองนครแต่ละสมัย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตุงไจย
ธงไชยทำด้วยแถบผ้าห้อยเป็นผืนยาว มีขนาดไม่จำกัด ผืนธงจะถูกแบ่งด้วยซี่ไม้เหลาเส้นเล็กให้เป็นช่องจัตุรัสเรียงซ้อนกัน ภายในช่องจะผูกประดับด้วยเส้นด้ายสี มีรูปคล้ายใยแมงมุม ธงเช่นนี้ทำขึ้นด้วยมุ่งหมายที่จะถวายเป็นพุทธบูชา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตุงสามหาง
ธงที่ทำขึ้นด้วยผ้าขาวสำหรับเป็นสัญลักษณ์แทนตัวผู้ตายความยาวของธงจะประมาณเท่ากับความสูงของตัวผู้ตาย ธงชนิดนี้จะใช้เป็นธงนำหน้าขบวนศพไปยังป่าช้า วิธีการใช้ธงสามหางของชาวเหนือมีลักษณะคล้ายธรรมเนียมของชาวจีน ที่มีการนำเอาเครื่องนุ่งห่มของผู้ตายมาผูกเป็นธงนำศพเช่นกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตุงห้อย
ธงกระดาษหรือธงผ้าทำเป็นแถบห้อยยาว นิยมใช้แขวนในโบสถ์ วิหารหรือในบริเวณวัดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หรือประดับสถานที่ในงานนักขัตฤกษ์ต่างๆ และหากตุงห้อยนี้มีรูปเขียนตามราศีประจำปีเกิดก็จะเป็นตุงที่ใช้ในพิธีสืบชะตา (ต่ออายุ) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ตูบ
โรงขนาดเล็กมุงด้วยจากหรือใบไม้อื่น ใช้สำหรับให้ชาวหรือชาวสวนนอนค้างเฝ้าพืชผล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เต้ารุม
เต้าซึ่งมีจำนวนมากกว่าหนึ่งตัวมารวมอยู่ในที่เดียวกัน เช่น เต้าจากเชิงกกลอน ตอนมุมอาคารตรงใต้แนวตะเฆ่สัน มารวมปลายด้านหนึ่งอยู่ในเสามุมตัวเดียวกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เต้า
ตัวไม้ที่สอดผ่านลำต้นเสาตรุงออกไปรับตอนกลางของไม้เชิงกลอนที่ขอบชายคา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เติ๋น
ชานหน้าห้องมีชายคาคลุม ตรงกับคำในภาคกลางว่า พาไลเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เตียง
ผืนไม้กระดานประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ยกขอบและมีขาสูงเหนือพื้นในระดับช่วงขาพับ ใช้ในการหลับนอน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ถะ
อาคารซ้อนชั้นที่สร้างขึ้นเป็นสถูปตามแบบสถาปัตยกรรมจีน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ถีบ
อาการที่เกิดแรงจากโครงสร้างที่อยู่ตอนบน ดันโครงสร้างหรือส่วนของอาคารที่อยูต่ำกว่าให้ถ่างหรือแยกออกไปจากแนวที่ควรจะตั้งอยู่โดยปกติ เช่นน้ำหนักของหลังคาที่ถ่ายลงมาที่ส่วนของจันทันตรงที่พาดติดอยู่กับเสา เกิดแรงถีบหัวเสาให้เบนถ่างออกจากแนวดิ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โถง
พื้นที่ภายในบริเวณที่มีหลังคาคลุมที่ไม่มีฝ้ากั้น เช่น ศาลาโล่ง หรือห้องที่มีพื้นที่กว้างขวางกว่าห้องอื่นๆ ที่อยู่ติดกัน และห้องนั้นมีบางส่วนหรือทั้งหมดที่ไม่ได้กั้นฝา ห้องเช่นนี้เรียกว่า ห้องโถง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทรุด
อาคารที่วัตถุจมต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้เดิม เพราะถูกน้ำหนักตอนบนกด เช่น บ้านทรุด เสาทรุด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทรุดโทรม
เสื่อมสภาพลงตามกาล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทวย
ตัวไม้ค้ำยันตามแนวเฉียงระหว่างเสากับปลายเต้าด้านสุดชายคาของอาคาร เพื่ใช้ยันไม่ให้ปลายเต้าอ่อนตัวลงมา ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ตัวไม้ค้ำยันรือที่เรียกว่าทวยหรือคันทวยนี้ มักทำเป็นไม้แกะรูปต่างๆ อย่างงดงาม เช่น นาค ครุฑ ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทวยหูช้าง
ตัวไม้ค้ำยันเต้ารับชายคาอาคาร ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ตัวทวยมีลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปสามเลี่ยมชายธง มีด้านยาวติดกับข้างอาคาร ทวยหูช้างชนิดเป็นลักษณะฌฉพาะของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ตัวทวยนิยมทำเป็นรูปไม้แกะต่างๆ ไม่ซ้ำแบบในอาคารหลังเดียวกัน
ท้องไม้
ผิวเรียบของไม้แผ่นที่เป็นพื้นรองรับไม้ส่วนอื่นที่ลอกคิ้วหรือทำบัวมาแปะทับไว้อีกต่อหนึ่ง หรือระนาบเรียงที่อยู่ระหว่างกลางขององค์ประกอบท่เรียกว่าบัวคว่ำและบัวหงาย ส่วนที่เป็นท้องไม้นี้จะเป็นส่วนที่อยู่ในระนาบลึกสุด ในที่บางแห่งเรียกส่วนท้องไม้นี้ว่า หน้ากระดานท้องไม้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ท้องสำเภา
แนวฐานอาคารก่ออิฐเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมไทย เช่น ฐานโบสถ์ ฐานปราสาท ฯลฯ ประดิษฐ์ขึ้นเป็นลักษณะพิเศษของศิลปะและสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยายุคปลาย มีแนวเส้นอ่อนช้อยอย่างความหย่อนโค้งของเส้นเชือกตกท้องช้าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ท้องสิงห์
ส่วนขององค์ประกอบที่ทำด้วยไม้หรือปูนที่ห้อยย้อยเป็นสองลอนเหมือนเชือกเส้นยาวที่ถูกยกตอนกลางคืน ส่วนห้อยย้อยที่เรียกว่าท้องสิงห์นี้จะอยู่ระหว่างกาบเท้าสิงห์หรือขาสิงห์กระหนาบอยู่ทั้งสองด้าน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทอด
การวางวัสดุที่มีความยาวหรือสิ่งปลูกสร้างในรูปลักษณะคล้ายคลึงกันให้ข้ามจากส่วนหนึ่งไปหาอีกส่วนหนึ่งได้ เช่นการทอดท่อนไม้หรือสะพานข้ามลำคู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทอย
ก.ตะปูทองแดงหรือทองเหลืองที่ยึดแกนทรายกับดินพอกหุ่นไม่ให้หลุดจากกัน ใช้ในงานหล่อโลหะที่มีดินปนทราย ข.ไม้ท่อนใช้ตอกติดกับลำต้นไม้เพื่อช่วยให้เหยียบไต่ขึ้นลงได้สะดวก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทาง
แนวที่ใช้สัญจรติดต่อถึงกันระหว่างที่แห่งหนึ่งกับที่อีกแห่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรืทางอากาศ ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ท้าย
ปลายหรือข้างหลัง ใช้ในกรณีที่ต้องการระบุให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งหรือที่อยู่ที่ตรงข้ามกับหัว เช่น ท้ายบ้าน ท้ายน้ำ ท้ายบาหลี หรือท้ายเกรินราชรถ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ท้าวแขน
ปัจจุบันเขียนว่า เท้าแขน ไม้ท่อนใช้ค้ำชายคาปีกนกของเรือนเครื่องสับ เท้าแขนนี้จะติดตรงกับแนวเสาเรือนทุกแห่ง ปลายไม้ส่วนล่างจะค้ำติดตรงกับแนวเสาเรือนทุกแห่ง ปลายไม้ส่วนล่างจะค้ำติดตรงระดับพรึงเรือน ไม้เท้าแขนนี้ในบางท้องที่ก็เรียกว่า ไม้ค้ำยัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ทำนบ
คันกั้นน้ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แท่นบูชา
แท่นหรือโต๊ะที่จัดตั้งเครื่องถวายสักการะและตั้งพระพุทธรูป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แท่น
ที่นั่งยกพื้นเตี้ย มีฐานทึบหรือปิดทึบโดยรอบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ธรณี
ตัวไม้ที่อยู่ตอนล่างหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้เป็นตัวไม้รองรับเดือยของบานแผละประตูหรือหน้าต่างที่สอดลงในรูของตัวไม้ธรณีนั้น และเรียกว่าธรณีประตูหรือธรณีหน้าต่างตามหน้าที่ของตัวไม้นั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นกคาบ
ลายแม่แบบชนิดหนึ่งในทางจิตรกรรม ที่กำหนดขึ้นเพื่อการแยกก้านลายให้เปลี่ยนเส้นทางแตกออกไปจากเส้นแนวเดิม มักทำเป็นรูปคล้ายหัวนก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นภศูรย์
ปัจจุบันเขียนว่า นภศูล องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนปลายสุดของเครื่องยอด มีใช้อยู่ 5 ประเภท คือ 1.พุ่มข้าวบิณฑ์ ใช้สำหรับประดับยอดอาคารที่มีเครื่องยอด เช่น มณฑป บุษบก ปราสาท หรือพระเจดีย์ ซึ่งมีรูปลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมย่อมุมทั้งสิ้น 2.ฉัตร ใช้สำหรับประดับยอดเจดีย์เพื่อเป็นเครื่องหมายให้ประจักษ์ว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรง สร้างถวายให้เป็นพุทธบูชา 3. มงกุฎ ใช้สำหรับประดับปลายเครื่องยอดเจดีย์หรือปรางค์ที่มีลักษณะกลมหรือมากเหลี่ยม มักใช้กับเจดีย์หรื่อปรางค์ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง โดยฌฉพาะในรัชกาลที่ 4 ใช้แทนพระนามเจ้าฟ้ามกุฎยอดมงกุฎนี้อาจประดับซ้อนลำภุขันได้ 4. ลำภุขันหรือเรียกกันเป็นสามัญว่าฝักเพกา ใช้ประดับยอดปรางคืทำด้วยแท่งโลหะฝังเป็น แกนทีกลีบคล้ายใบมีดแฉกซ้อนสองชั้นหรือสามชั้นที่ปลายยอดมีรูปคล้ายพระขรรค์ 5. ลูกแก้ว ใช้ประดับยอดเจดีย์โดยทั่วไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นม
ก.ตัวไม้รูปขนมเปียกปูนฉลักลาย ติดอยู่ตอนกลางช่วงของอกเลาที่ติดอยู่กับบานประตูหรือหน้าต่าง ข.ขาหรือไม้โลหะตั้งไว้รับสายเครื่องทำเสียงของเครื่องดนตรี เช่น นมจะเข้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า หย่องจะเข้ ค.เป็นไม้หรือโลหะรูปแบนใช้ประกับข้อต่อระหว่างแผ่นตาลปัตรให้จับยึดแน่นกับด้ามถือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นอกชาน
ยกพื้นไม้กลางแจ้ง เป็นส่วนต่อจากชานเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นั่งร้าน
โครงไม้พาดด้วยแผ่นกระดานสำหรับให้ช่างนั่งหรือยืนทำงานได้ในที่สูง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นั่ง
การวางไม้ตัวหนึ่งลงบนไม้อีกตัวหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการปลูกสร้าง เช่น การวางโคนเสาดั้งลงบนไม้รอดโดยวิธีบากโคนเสาดั้งให้เป็นร่องผ่ากลาง มีขนาดพอดีที่จะใช้วางคร่อมลงบนกระดานรอดได้สนิทแล้วเจาะตัวไม้ทั้งสองนี้ให้ทะลุตลอดถึงกัน แล้วอุดด้วยไม้เดือยเพื่อให้ยึดติดแน่น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นาคเบือน
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมใช้ประดับส่วนของหลังคาอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาคารอันเกี่ยวกับสถาบันศาสนา ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับหางหงส์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นาคปัก
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ใช้ประดับส่วนของหลังคาเครื่องยอดที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันของพระมหากษัตริย์ และอาคารอันเกี่ยวกับทางศาสนา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นาคปักบันแถลง
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบปรางค์ขอม มีรูปร่างเช่นเดียวกับกลีบขุน แต่ฉลักเป็นรูปนาคเจ็ดเศียร ขนาบสองข้างบันแถลงที่ชั้นซ้อนขององค์มณฑปด้วย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นาคลำยอง
ชื่อขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นตัวไม้ปิดปลายระแนงรับกระเบื้องหลังคา เรียกเฉพาะส่วนประดิษฐ์ให้ดูเหมือนลำตัวพญานาคเลื้อยคล้องหัวไม้แปทอดตัวห้อยลงเบื้องล่างเป็นรูปคล้ายปากกริชชวา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นาคสดุ้ง
ปัจจุบันเขียนว่า นาคสะดุ้ง ก.ส่วนของลำยองระหว่างแปหัวเสา แปลาน และแปวงที่ทำอ่อนตัวห้อยตกท้องช้างเหมือนคล้องผ้าห้อยพาด ผ่านหัวแปทั้งสาม ส่วนที่ทำอ่อนตัวทั้งหมดนี้เรียกว่านาคสะดุ้ง การที่เรียกตัวลำยองว่านาคก็เพราะส่วนตัวไม้ ส่วนนี้ถูกสมมุติให้เป็นตัวนาค มีหัวอยู่ที่แปหัวเสา และหางอยู่ที่ช่อฟ้า นาคสะดุ้งนี้จะมีใช้กับอาคารของหลวงกับอาคารในพระศาสนาเท่านั้น ข.ชื่อขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนของราวหรือพนักที่ทำเหมือนลำตัวพญานาคเลื้อย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นาคสำรวย
ชื่อขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นตัวไม้ปิดปลายระแนงรับกระเบื้อหลังคา แผ่นไม้นี้จะวางตามตั้งดัดโค้งแอ่นไปตามความโค้งของขอบลาดหลังคา ตัวไม้นี้หากนำมาใช้ประกอบเรือนพักอาศัยก็เรียกเป็นสามัญว่า ไม้ปั้นลม นาคสำรวยนี้นิยมเรียกองค์ประกอบเฉพาะที่เป็นหลังคาเครื่องลำยอง และมีคำสั้นตามภาษาช่างว่า ตัวรวย หรือที่เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า รวยระกา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นางจรัล
ใช้เรียกเฉพาะเสาไม้ที่ตั้งรับหลังคาศาลาโถงตามความยาวของขอบนอกระเบียง หรือเสารับชายคาเรือน (ไม่ใช้เรียกกับเสาก่ออิฐหรืเสาที่มิใช่ไม้) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นางแนบ
เสาหินสองข้างประตูซุ้ม ใช้รับแผ่นหินทับหลังประตุ มีเฉพาะประตูปราสาทหินที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบขอม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นางไม้
เสา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นางเรียง
เสาไม้ขาดใหญ่ที่ปักถี่เรียงเป็นแถวไปตามแนวเขตระเนียดหรือเพนียด เสาเช่นนี้อาจเรียกกันโดยทั่วไปว่า เสาเพนียด ด้วย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
นางอุ้ม
ตัวไม้ท่อนซุงที่ใช้ขนาบส่วนตอนบนของเสานางเรียงให้ติดแน่นกันรวนเมื่อถูกช้างหรือสัตว์ใหญ่เบียดเป็นคำที่ใช้ในภาคใต้ ไม้นางอุ้มนี้ในที่บางแห่งก็เรียกว่า ปลอกไม้ซาก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บังนก
แผ่นไม้แบนวางตามแนวตั้งอุดช่องว่างระหว่างหลังคาซ้อนชั้นทางด้านสกัดของอาคาร เพื่อป้องกันนกหรือค้างคาวเข้าไปอาศัยในซอกหลังคา บังนกนี้ในบางที่เรียกว่า หน้าอุด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บังใบ
การบากส่วนขอบของแผ่นไม้ออกเพียงครึ่งของความหนาตลอดวามยาวของแผ่นไม้ เพื่อให้รับกับสนิทกับหน้าบากของแผ่นไม้อีกแผ่นหนึ่งที่บากกลับทางกัน เช่น การทำบังใบขอบไม้บานหน้าต่างหรือบานประตู (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัณแถลง
ปัจจุบันเขียนว่า บันแถลง จั่วเล็กหรือซุ้มจั่วเล็ก บางทีเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า ซุ้มรังไก่ ใช้เป็นส่วนประกอบหลังคาเครื่องยอด เช่น มณฑป บุษบก ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัว
องค์ประกอบทางศิละที่ทำรูปคล้ายส่วนโค้งของกลีบบัวทางด้านข้าง ไม่ว่าองค์ประกอบนั้นจะปรากฏรูปชัดเจนของกลีบบัวหรือไม่ก็ตาม เช่น บัวส่วนฐานรองรับสถาปัตยกรรมที่มีความยาวตลอดรอบฐานอาคาร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวกระจับ
บัวที่มีรูปกลีบบานผายออกด้านนอกดูคล้ายปีกกระจับ ใช้ประดับข้อต่อของสิ่งที่เป็นท่อนยาว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวกลีบขนุน
องค์ประกอบเชิงศิลปะทางประติมากรรม ใช้เป็นเครื่องประดับส่วนที่ต้องการบัวที่รูปทรงหนาและสูง เช่น การทำประดับคอเสา ส่วนขอบปากพาน ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวกลุ่ม
องค์ประกอบเชิงศิลปะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้คั่นจังหวะขององค์ประกอบอย่างอื่น หรือใช้เป็นเครื่องรองรับสิ่งที่ควรสักการะ เช่นพระพุทธรูป พระเจดีย์ ซุ้มเสมา ใช้เป็นบัวหัวเสา ใช้เป็นบัวรองปลีเครื่องยอดบัวกลุ่ม มีรูปเป็นดอกบัวบานมีกลีบซ้อนถี่ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวเกสร
องค์ประกอบเชิงศิลปะที่ประดิษฐ์ขึ้นเลียนธรรมชาติ มีรูปลักษณะเป็นกลีบบัวเรียวยาวตามแนวตั้ง และมีความเรียวยาวมากกว่าบัวแวง ใช้ประดับเป็นบัวปากฐานของชั้นที่ตั้งรูปแบกต่างๆ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวคลุมเถา
บัวที่ใช้ทำเป็นบัวกลุ่มสำหรับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเครื่องยอด เช่น ยอดเจดีย์ ยอดปราสาท ยอดบุษบก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวคอเสื้อ
บัวประดับส่วนบนองค์ระฆังของเจดีย์เหลี่ยมหรือยอดปราสาทที่มีรูปเหลี่ยมเช่นเดียวกัน หรือประดับส่วนคอเสาเหลี่ยมย่อมุมไม้ซึ่งอยู่ตอนใต้คอต่อของหัวเสา บัวคอเสื้อมีที่มาจากลายประดับคอเสื้อสมัยโบราณ ทำรูปคล้ายกลีบบัวยาวปกสองข้างไหล่ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวถลา
กลีบบัวคว่ำประดับส่วนฐาน กลีบบัวมีลักษณะไปทางส่วนนอนมากกว่าส่วนตั้ง(ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวปากฐาน
องค์ประกอบเชิงศิลปะที่ประดิษฐ์เลียนธรรมชาติเพื่อใช้ประดับตกแต่งส่วนของฐาน มีรูปกลีบตั้งยาว ตัวกลีบ ประดิษฐ์เป็นแผ่นตั้งตรง ปลายกลีบงอผายเปิดออกรับส่วนบนที่ยื่นเกินส่วนล่าง องค์ประกอบของฐานตรง ส่วนที่ใช้บัวปากฐานนี้มักนิยมใช้เป็นที่ตั้งประดับรูปแบกต่างๆ เช่น ครุฑแบก เทวดาแบกหรือรูปตั้งที่อื่น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวปากปลิง
องค์ประกอบเชิงศิลปะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ประดับขอบชั้นต่างๆ ของเครื่องก่ออิฐถือปูน มีลักษณะรูปข้างของกลีบบัวคว่ำ แต่มีส่วนล่างโค้งเว้าเข้าภายใน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวฝาละมี
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมฌฉพาะส่วนที่เป็นวงรูปบัวคว่ำหรือบัวถลาที่ใช้รองรับปล้องไฉน หรือบัวกลุ่มของส่วนยอดเจดีย์ บัวฝาละมีนี้จะตั้งอยู่บนส่วนที่เป็นแกนเจดีย์เหนือรัตนบัลลังก์อีกชั้นหนึ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวฟันยักษ์
องค์ประกอบเชิงศิลปะรูปกลีบบัวที่มีลักษณธส่วนยอดของกกกลีบป้านมน มีส่วนสัดไปทางกว้างมากกว่าทางสูง มีรูปคล้ายซี่ฟันของยักษืในรูปทางจิตรกรรม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวแวง
กลีบของดอกบัวชนิดบัวสาย มีลักษณะกลีบตั้งยาว ในด้านศิลปะประกอบสถาปัตยกรรมมักทำหุ้มหัวเสา มีทั้งชนิดเสาเหลี่ยมและกลมน นอกจากนี้ยังนิยมทำเป็นลายดุนประดับพานและกระโถนที่ทำด้วยโลหะมีค่า (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวหลังเจียด
บัวคว่ำที่มีส่วนทอดยาวมาก และมีปลายเปิดไปในแนวขนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัวถลา นิยมทำบนส่วนหลังของพนักกำแพงแก้ว พนักระเบียงหลังกำแพง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวหลังเบี้ย
ฐานรองที่มีบัวคว่ำติดอยู่กับบัวหงายโดยไม่มีชั้นหน้ากระดานคั่นกลาง มีใช้ส่วนมาในที่เป็นฐานรองปากระฆังขององค์เจดียืหรือเป็นฐานรองพระกริ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวหลังสิงห์
บัวคว่ำเฉพาะที่ใช้เป็นองค์ประกอบส่วนที่ทับอยู่ตอนบนของฐานสิงห์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บัวหัวเสา
หัวเสาอาคารก่ออิฐที่ประดิษฐ์เป็นรูปกลีบบัวล้อมรอบ ไม่ว่ากลีบบัวนั้นจะเป็นบัวชนิดใดก็รวมเรียกกันโดยทั่วไปว่าบัวหัวเสาทั้งสิ้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บาก
ทำให้เกิดช่องผ่าลึกตอดความหนาของเนื้อวัตถุ เช่น ไม้ ด้วยของมีคม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บ้าน
ก.อาณาเขตบริเวณที่มีครัวเรือนรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวกเดียวกัน หรือมีอาชีพอย่างเดียวกัน เช่น บ้านลาวบ้านเขมร บ้านช่างหล่อ บ้านแขก ฯลฯ ข.เขตที่อยู่ของครัวเรือนในบริเวณล้อมรั้วเดียวกัน เช่น บ้านของนายแดง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
บูรณะ
ทำให้ดีเหมือนเดิม ซ่อมให้ใช้ได้ดีเช่นเดิม มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "ปฏิสังขรณ์" (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ใบดั้ง
แผ่นไม้ที่ใช้ตั้งบนไม้ขื่อของโครงจั่วยันขึ้นไปรับไม้อกไก่ที่สันหลังคา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ใบปรือ
แผ่นไม้ทำเป็นเกล็ดซ้อนตามแนวนอน เว้นช่องห่างระหว่างเกล็ดเล็กน้อยเพื่อให้ระบายอากาศได้สะดวกและในขณะเดียวกันก็ใช้บังสายตามิให้มองผ่านได้ เกล็ดใบปรือชนิดนี้ใช้ในการทำฝาเรือนหรือบานประตู หน้าต่าง หรือแผงจั่ว เพื่อประโยชน์ในการใช้ระบายอากาศ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ใบพรวง
ปัจจุบันเขียนว่า ใบพลวง ใบไม้ที่นำมาเย็บเข้าตับ ใช้เป็นวัสดุมุงหลังคาของโรงเรือนทางภาคเหนือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ใบระกา
ชื่อขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นตัวไม้ประดับปักอยู่บนไม้นาคสำรวยหรือตัวรวย มีลักษณะคล้ายปลายมีดดาบหรือใบครีบบนสันหลังพญานาค (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประโคน
เสากำหนดเขต เช่น เสาแสดงเขตแดน หรือเสาแสดงเขตวัด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประจำยาม
ลายดอกกลีบในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นรูปลายดอกอิสระ ใช้วางลายเข้าจังหวะประดับสิ่งอื่นหรือประดับพื้นผิวทั่วไป หรือวางลายลงบนจุดตัดของรูปตารางเหลี่ยม เช่น ประดับตารางราชวัตร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประจำยามรัดอก
ลายดอกขนาดใหญ่เป็นรูปลายดอกอิสระ ใช้วางประดับส่วนสันกลางหักมุมทั่วไป เป็นต้น ที่สันกรอบประตู หน้าต่างหรือที่เสาย่อมมุมไม้ประกอบบุษบก เป็นองค์ประกอบของเครื่องประดับที่ต้องการตกแต่งอย่างประณีต อย่างชนิดที่เรียกกันว่า "ทรงเครื่อง"เท่านั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประดุ
เครื่องไม้ที่ใช้ในการปลูกสร้างที่เป็นไม้จริง เช่น เรือนไทยที่สร้างด้วยไม้จริงตั้งแต่ตัวเรือนไปจนถึงโครงหลังคาทั้งหมดจะเรียกว่า เรือนเครื่องประดุ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประติมากรรม
ประดิษฐกรรมตามขบวนการช่างซึ่งทำให้เกิดเป็นรูปที่มีปริมาตรของวัตถุ ไม่ว่าประดิษฐกรรมนั้นจะเป็นการปั้น หล่อ หรือ ฉลัก ก็ตาม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประตู
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ใช้เป็นเครื่องช่วยให้เดินผ่านสิ่งปิดกั้น เช่น รั้วหรือกำแพงได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประทุน
สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้ปกคลุมกำบังแดดหรือฝนให้กับคน เช่นทำขึ้นสำหรับพาหนะเป็นต้น เรือ รถ หรือที่เรียกว่า กูบ สำหรับสัปคับช้าง หรือสำหรับสิ่งอื่นที่คอนต้องอาศัยกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวประทุน ทำด้วยไม้ไผ่สาน หรือใบไม้ที่ประกับ้วยดครงไม้ไผ่เพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ประสะ
การทำผิวหนังปูนให้หายเค็มเพื่อใช้ในการเขียนภาพ การประสะผนังในสมัยโบราณใช้น้ำจากใบขี้เหล็ก ปัจจุบันใช้น้ำจากกรดดินประสิว ซึ่งทำให้ผนังหายเค็มได้เร็วกว่ามาก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปราลี
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีรูปคล้ายมีหัวเม็ดทรงมันยอดแหลมขนาดเล็ก หรือรูปที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ก.ติดตั้งอยู่บนหลบกระเบื้องครอบหลังคา ดังตัวอย่างอาคารหอจดหมายเหตุถนนหน้าพระธาตุ กรุงเทพฯ ข.ปักบนสันครอบบันแถลงของยอดมณพปหรือยอดปราสาท (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปรุง
เป็นคำเดิมที่ใช้ในภาษาเก่า มีความหมายตรงกับคำว่า "ประกอบ" หรือใกล้เคียงกับคำว่า "สร้าง" ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การทำบ้านเรือนในสมัยก่อนใช้คำว่า "ปรุง" เพราะเหตุท่ารสร้างเรือนในสมัยก่อนใช้ชิ้นส่วนที่ทำสำเร็จที่ระดับพื้นดินก่อน เช่น โครงหลังคา ฝาเรือน ประตูหน้าต่าง แผงหน้าอุดจั่ว นำมาประกอบกันขึ้นใหม่ในที่ก่อสร้างจริง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปลอกไม้ซาก
ตัวไม้ท่อนซุงที่ใช้ขนาบส่วนตอนบนของเสานางเรียงให้ติดแน่นกันรวน เมื่อถูกช้างหรือสัตว์ใหญ่เบียดปลอกไม้วากนี้ในภาษาภาคใต้เรียกว่า นางอุ้ม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปล้องไฉน
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอันเป้นส่วนของยอดเจดีย์ ตอนที่อยู่ระหว่างช่วงเหนือคอระฆังกับปลียอด ปล้องไฉนประกอบด้วยลูกแก้วซ้อนชั้นจากลูกแก้วที่มีวงใหญ่ชั้นล่างไปหาลูกแก้วที่มีวงขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ลูกสุดท้ายตอนบน มีรูปเป็นข้อปล้องซ้อนกันคล้ายหอยเจดีย์ ปล้องไฉนนี้มีที่มาจากฉัตรซ้อนชั้น ( ฉัตรมัณทิร) เดิมซึ่งใช้ปักเป็นพุทะบูชาอยู่บนแท่นบัลลังก์ขององค์สถูป แต่เนื่องจากกาลเวลารูปของฉัตรมัณทิรได้เปลี่ยนแปลงคลาดเคลื่อนไป รูปฉัตรซ้อนชั้น จึงได้เปลี่ยนไปเป็นชั้นลูกแก้วและมานิยมเรียกกันว่าปล้องไฉนนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มาลัยเถาด้วยเหตุที่มีรูปลักษณะคล้ายวงพวงมาลัยดอกไม้วางซ้อนชั้นเป็นพุทธบูชา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปล่อง
ก.ช่องจากเพดานถ้ำทะลุขึ้นสู่ผิวบนของภูเขา ข.สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อบังคับให้ควันจากไฟที่อยู่ตอนล่างพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า(ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปลี
สิ่งที่มีลักษณะเป็นลำรูปเพรียว ทรงสูง มีปลายสอบรวม ใช้เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นยอด เช่น ยอดพระเจดีย์ในส่วนที่อยู่เหนือปล้องไฉน ยอดชฎา ยอดปราสาท ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปวด
การปรับตัวไม้ให้เข้าที่ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะในการปลูกเรือนตามประเพณีไทย คำว่า ปวด นี้เป็นศัพท์โบราณที่ใช้แพร่หลายในภาคกลาง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปะรำ
โรงไม้ทำเป็นที่พักชั่วคราว หลังคาแบน คลุมด้วยใบไม้ เป็นโรงแบบไม่มีฝากั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปั้นจั่น
เสารอกสำหรับใช้ยอกของหนัก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปั้นลม
ตัวไม้ของส่วนหลังคา ใช้วางตามตั้งปิดขอบกระเบื้องหลังคาตรงส่วนที่เป้นขอบยื่นพ้นแผงหน้าจั่ว (ไขรา) ออกมาทางด้านสกัดของเรือน ปั้นลมนี้ ในที่บางแห่งเรียกว่า ป้านลม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปั้นหยา
ทรงหลังคาเรือนชนิดที่ยกเป็นสันสูง มีชายคาคลุมทั้งสี่ด้น หรือทั้งหมด (ไม่มีจั่วเปิด) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปาก
ส่วนที่อยู่ต้น เช่น ปากทาง หมายถึง ต้นทางเดิน ปากประตู หมายถึง ต้นทางเข้าบ้านหรือเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปากกบ
วิธีเข้าไม้ตรงส่วนที่หักมุมเป็นฉาก ทำให้มองเห็นรอยต่อไม้เป็นแนวเฉียง 45 องศา มองดูคล้ายปากกบ เช่น การเข้าไม้กรอบหน้าต่างเรือนไทย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปากกริว
รอยเข้าบากไม้ มุมกรอบประตูหรือหน้าต่างซึ่งบากคล้ายเข้ามุมปากกบที่มุมกรอบด้านในเป็นมุมเฉียง 45 องศา เพียงเล็กน้อย แล้วจึงบากตรงลงมายังขอบล่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปากไม้
ตัวไม้ส่วนที่บากหรือแต่งเตรียมไว้เพื่อนำไปประกอบเข้ากับไม้ตัวอื่น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปากแล
ช่วงของแผงแลคอสองของสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่ยื่นพ้นตัวอาคารออกมารับผืนไขราหลังคา คำว่า "แล" ในที่นี้เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งแปลว่านกแก้ว ฉะนั้นองค์ประกอบส่วนนี้จึงมีความหมายในภาษาไทย ภาคกลางว่า ปากนกแก้ว ตรงช่วงปลายสุดด้านนอกของปากแลมักจะทำเป็นรูปเทวดาหรือรูปสัตว์ประดับเพื่อความสวยงาม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปาริกชาต
ปัจจุบันเขียน ปาริชาติ ไม้ทองหลาง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปีก
อาคารส่วนที่ต่อขวางแยกออกสองข้างจากตัวอาคารที่วางเป็นแกนประธาน เช่น ปีกอาคารที่ทำให้อาคารหลังนั้นเป็นอาคารตรีมุข (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปีกกา
รั้วไม้ที่ปักเป็นสองแถว มีปลายแถวรั้วด้านหนึ่งถ่างกว่า และมีปลายแถวรั้วอีกด้านหนึ่งตีบแคบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ปู
การนำเอาวัสดุที่มีลักษณะเป็นผืนหรือเป็นแผ่นมาวางคลุมหรือเรียงต่อกัน จนแผ่เต็มบริเวณเนื้อที่ที่ต้องการจะให้วัสดุที่เป็นผืนหรือเป็นแผ่นปกคลุม เช่น ปูเสื่อ ปูอิฐ ปูกระเบื้อง ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แป
ก.ตัวไม้ดครงสร้างหลังคามีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามนอน ใช้วางระหว่างความความเอียงลาดของขอบด้านบนโครงจั่วเพื่อช่วยรับท้องไม้ กลอนไม้แปชนิดนี้จะใช้เฉพาะโครงจั่วชนิดที่ทำเป็นตัวไม้รูปสามเหลี่ยมตามแบบที่นิยมในสมัยอยุธยายุคที่ 4 และสมัยรัตนโกสินทร์ ข.ตัวไม้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีลักษณธเช่นเดียวกับแปรับหัวเสา ใช้ทำหน้าที่รับท้องไม้กลอน แปชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้ใช้เฉพาะโครงจั่วชนิดตั้งตุ๊กตาแบบหลังคาไม้สุโขทัยและสมัยอยุธยายุคต้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แปงวง
ตัวไม้โครงสร้างหลังคาที่ใช้วางตามความเอียงลาดของขอบนอกด้านบนของโครงจั่ว เพื่อประโยชน์ในการช่วยรับท้องไม้กลอน แปงวงนี้จะเรียกเฉพาะตัวที่ปรากฏออกมาจรดตัวไม้เครื่องลำยองที่ด้านสกัดของอาคารและจะเรียกเฉพาะแปตัวที่ถูกงวงของนาคลำยองคล้องไว้เท่านั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แปจอง
น.อกไก่ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แป้นต้อง
น.ไม้กระดานแผ่นยาววางทับตามขวางของไม้กระดานพื้นเรือน ใช้สำหรับเดินในเวลาที่มีผู้อื่นหลับนอนอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้พื้นกระดานเรือนยบวตัว ใช้วางเฉพาะในห้องนอน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แป้นหน้าก้อง
น.ไม้รับส่วนยื่นของหลังคาตอนหน้าจั่ว เป็นอย่างเดียวกับที่เรียกกันในภาคกลางว่า ไขราหน้าจั่ว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แปรรูป
การเปลี่ยนสภาพไม้ท่อนตามรูปธรรมชาติด้วยเครื่องมือให้มีรูปและขนาดที่เหมาะสม สำหรับใช้เป็นไม้ปลูกสร้าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แปลาน
ตัวไม้ที่ใช้พาดตามความยาวของหลังคาตัวเรือนที่ช่วงระหว่างอกไก่กับแปหัวเสาตัวไม้นี้จะทำหน้าที่รับท้องไม้กลอนไม่ให้อ่อนตัวตกท้องช้าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ผนัง
เครื่องกั้นแบ่งเขตระหว่างภายนอกกับภายในอาคาร หรือแบ่งส่วนอาคาร ทำด้วยอิฐหรือหินเป็นแผงทึบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ผนังลับแล
ผนังที่ใช้กระเบื้องกรุก่อแทนอิฐ และก่อเต้มทั้งผืนผนังเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเพื่อให้แสงสว่างภายใน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ผังบริเวณ
รูปในระนาบราบของพื้นที่ที่มีการแสดงที่ตั้งของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ โดยมีการกะขนาดและสัดส่วนที่อาจประมาณรู้หรือวัดสอบได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ผังบริเวณ
รูปในระนาบราบของพื้นที่ที่มีการแสดงที่ตั้งของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ โดยมีการกะขนาดและสัดส่วนที่อาจประมาณรู้หรือวัดสอบได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ผังพื้น
รูปในระนาบราบของอาคารที่แสดงขนาดและส่วนสัดที่สัมพันธ์กัน ระหว่างผนังโดยรอบกับเนื้อที่และการใช้สอยภายในของอาคาร สามารถวัดสอเทียบนำไปขยายส่วนที่ใช้เป็นแบบสร้างได้จริง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ผาม
น.ชานโถงใต้ชายคาคลุม ใช้เป็นชานเอนกประสงค์ เช่น รับประทานอาหาร รับแขก ทำบุญเลี้ยงพระ เป็นชานที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับชานพะไลของเรือไทยภาคกลาง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แผง
สิ่งที่มีรูปลักษณะเป็นแผ่นวัตถุแบน ใช้ประดยชน์สำหรับกั้นหรือบังสิ่งหนึ่งจากอีกสิ่งหนึ่ เช่น แผงบังแดด แผงกั้นห้อง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แผงกระทบ
แผ่นหนังสอดใต้อานม้าห้อยลงข้างลำตัว เพื่อกันสายโกลนเสียดสีข้างตัวม้า และเป็นที่ที่ผู้ขี่อยู่บนหลัง ใช้ช้างขากระต้นบังคับม้าให้เคลื่อนไหวตามต้องการ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แผงแล
แผงระหว่างแปรับกลอนหลังคากับคอสองรับปีกนกด้านข้าง ทำด้วยแผ่นไม้ฉลุเพื่อรับแสงและระบายอากาศ แผงแลในลักษณะเช่นนี้มักนิยมใช้ในงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แผ่นใบปรุ
แผ่นกรุเพดานห้อง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝักมะขาม
ก.องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นแผ่นไม้หนา มีรูปคล้ายเสี้ยววงแหวนใช้ตอกหรือเกาะกับส่วนของเสาเรือนเพื่อทำหน้าที่รับปลายไม้กระดานพื้นเรือนตรงส่วนที่ต้องปูพื้นมาชนเสา ฝักมะยชขามนี้จะช่วยไม่ให้ปลายพื้นไม้กระดานตรงส่วนนั้นกระดกหรือยวบตัวได้ ข.ท่อนไม้ดค้งเป็นส่วน 1 ใน 4 ของวงรอบกงล้อเกวียน กงล้อวงหนึ่งๆนั้นจะมีไม้ฝักมะขามนี้ต่อบรรจบกัน 4 ท่อน และในฝักมะขามข้อหนึ่งใช้รับปลายซี่กำเกวียน 4 ซี่ ฉะนั้นกงล้อวงหนึ่งจะประกอบด้วยฝักมะขาม 4 ท่อน และซี่กำเกวียน 16 กำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝา
แผ่นแผงที่ปลูกสร้างขึ้นด้วยไม้หรือวัตถุจักสาน เพื่อใช้กั้นอาณาเขตหรือเนื้อที่ส่วนหนึ่งให้แยกต่างหากจากอีกส่วนหนึ่ง (หากก่อด้วยอิฐเรียกว่าผนัง) (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝากุนตุ
น.เพดานที่สานเป็นตะแกรงของเรือนชาวภาคเหนือ ใช้สำหรับเก็บของ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาขัดตาน
ฝาเรือนทำด้วยผิวไม้ไผ่บง (ไผ่สีสุก) ขัดกันเป็นลูกคลื่นสลับในทางแนวตั้ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาขัดแตะพอกดิน
ฝาขัดด้วยไม้ไผ่ผ่าวีก พอกฉาบด้วยดินเหนียวผสมฟางและมูลโคเพื่ออุดปิดช่องห่างระหว่างซี่ไม้ไผ่ ฝาชนิดนี้นิยมใช้กับโรงที่ทำขึ้นเพื่อเก็บพืช เช่น ยุ้งหรือฉาง สามารถใช้กันฝนได้อย่างดี (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาตาก
แผงฝาที่วางแบะทางนอกตัวเรือนตามวีการปลูกสร้างที่นิยมในภาคเหนือส่วนบนของฝาจะถ่างห่างออกจากแนวตั้งของเสา ตรงส่วนนี้จะเป้นส่วนที่ใช้ประดยชน์ทำเป็นหิ้งวางของใช้ในครัวเรือน หรือใช้เป็นหิ้งพระ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาตาก
แผงฝาที่วางแบะทางนอกตัวเรือนตามวีการปลูกสร้างที่นิยมในภาคเหนือส่วนบนของฝาจะถ่างห่างออกจากแนวตั้งของเสา ตรงส่วนนี้จะเป้นส่วนที่ใช้ประดยชน์ทำเป็นหิ้งวางของใช้ในครัวเรือน หรือใช้เป็นหิ้งพระ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาตาผ้า
ฝาไม้ที่มีโครงกรอบฝาเป็นรูปสี่เหลี่ยมจุตุรัสหรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในโครงกรอบบรรจุแผ่นไม้ปิดทึบซึ่งอาจทำด้วยไม้แผ่นียว หรืออาจเรียงด้วยแผ่นไม้กระดานก็ได้ ฝาตาผ้านี้เป็นแบบอย่างการปลูกสร้างด้วยไม้ของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีลักษณะคล้ายวิธีการทำฝาปะกนของสถาปัตยกรรมภาคกลาง แต่มีขนาดตัวไม้และขนาดช่องไม้ใหญ่กว่าฝามาก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาเรือก
ฝาเรือนหรือโรงที่ทำด้วยลำไม้กระบอกทุบแผ่ให้เป้นแผ่นแบน ฝาชนิดนี้นิยมทำในท้องถิ่นที่หาไม้ไผ่ได้ง่าย เรือนที่ทำด้วยฝาเรือกชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทเรือนครื่องผูก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาสายบัว
ฝาไม้กระดานตีตามแนวตั้งและทับแนวด้วยไม้เส้นเล็กทุกๆ รอยต่อของแผ่นฝา ฝาชนิดนี้ได้ชื่อจากเส้นทับแนวที่ทำให้มองดูคล้ายก้านบัว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาสำรวจ
ฝาเรือนที่มีโครงไม้ไผ่หรือไม้กระบอกยืนเป็นหลัก โครงไม้ไผ่หรือไม้กระบอกจะมีระยะวางห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ ด้านในโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้ขนาดเล็กที่เรียกว่าไม้เซงหรือลูกเซงวางตามขวางอีกชั้นหนึ่ง และระหว่างช่องห่างของไม้เซงนั้นอาจกรุด้วยตับแฝกหรือตับใบเตยหรือขัดด้วยซี่ไม้เล็กเพื่อให้เกิดความมิดชิดแก่ตัวเรือน ฝาชนิดนี้มีประโยชน์ในการระบายลมหรือควันไฟ จึงมักนิยมทำกับเรือนครัวเป็นส่วนใหญ่ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาเสี้ยว
แผงฝาที่ประกอบขึ้นเพื่อใช้ปิดด้านสกัดของเรือนพะไลโดยเฉพาะ ฝาเสี้ยวได้ชื่อเรียกเช่นนี้เนื่องมาจากความเอียงของขอบฝาด้านบน ที่ต้องทำเพื่อให้พอดกับการรับลาดหลังคาชานพะไล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาไหล
แผงไม้กระดานตามแนวตั้ง ประกอบขึ้นโดยวิธีเว้นช่องว่างเท่าขนาดกว้างของแผ่นไม้หนึ่งแผ่นสลับกับไม้แผ่นทึบหนึ่งแผ่นตลอดทั้งแผง ฝาชนิดนี้จะประกอบด้วยแผงดังกล่าวสองชุดวางชิดและซ้อนขนานกันในรางเลื่อนเมื่อต้องการอากาศหรือใช้เป็นช่องมองก็จะทำได้โดยวิธีเลื่อนช่องว่างของแต่ละแผงให้ตรงกัน หากไม่ต้องการอากาศหรือใช้เป็นช่องมองก็เลื่อนช่องที่ว่างของแผงหนึ่งให้ตรงกับแผ่นทึบของอีกแผงหนึ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฝาไหล
แผงไม้กระดานตามแนวตั้ง ประกอบขึ้นโดยวิธีเว้นช่องว่างเท่าขนาดกว้างขงแผ่นไม้หนึ่งแผ่นสลับกับไม้แผ่นทึบหนึ่งแผ่นตลลอดทั้งแผง ฝาชนิดนี้จะประกอบด้วยแผงดังกล่าวสองชุดวางชิดและซ้อนขนานกันในรางเลื่อนเมื่อต้องการอากาศหรือใช้เป็นช่องมองก็จะทำได้โดยวิธีเลื่อนช่องว่างของแต่ละแผงให้ตรงกัน หากใม่ต้องการอากาศหรือใช้เป็นช่องมองก็เลื่อนช่องที่ว่างของแผงหนึ่งให้ตรงกับแผ่นทึบของอีกแผงหนึ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เฝือก
เครื่องหุ้มห่อหรือกั้นวงล้อม ทำด้วยไม้ไผ่สาน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
พนัก
ที่กัน ที่พัก หรือที่พิง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
พนักระเบียง
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่ใช้เป็นเครื่องกั้นขวางตามแนวขอบอาคาร หรือกั้นระหว่างช่วงเสาเพื่อป้องกันมิให้คนเดิผ่านหรือเกิดอันตรายจากการพลัดตกอาคาร พนักระเบียงนี้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับลูกกรงเรือน และมักนิยมทำสูงแค่ระดับเอว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
พาไล
เพิงโถงส่วนที่ต่อจากตัวเรือนก่อนจะถึงส่วนที่เป็นนอกชาน ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือเนียกอีกอย่างหนึ่งว่าชานแล่น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
พุก
ไม้ท่อนชิ้นเล็กใช้สำหรับรองรับหรือกันตัวไม้ที่เป็นโครงสร้างให้ตั้งอยู่ในระดับหรือวางอยู่ในระยะห่างที่ต้องการ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
พุงนกกระจาบ
ส่วนที่เป็นกระพุ้งของช่อฟ้าตอนที่ตั้งอยู่บนไม้อกไก่ ในที่บางแห่งเรียกองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ส่วนนี้ว่า ท้องขันข์ หรือก้นขันข์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เพดาน
แผ่นหรือผืนของวัตถุที่ดาดปิดส่วนที่เป็นโครงหลังคา หรือแผ่นผืนของวัตถุที่ดาดอยู่ที่ระดับขอบฝาด้านบน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฟาก
ไม้ไผ่ที่ผ่าตามยาวของลำแล้วทุบให้แบนราบ ใช้แทนพื้นกระดาน รั้วหรือฝาไม้ไผ่ที่ใช้เป็นไม้ที่มีลำโต ส่วนมากใช้ไม้สีสุก เรือนโบราณแถบชนบทและป่าใช้ปูพื้น เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เฟี้ยม
ฝาพับรูปฟันปลา นิยมใช้แทนประตูกั้นหน้าเรือนโรง เปิดพับได้ กว้างตลอด ช่วงหน้าถัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ภมร
เครื่องกลึงไม้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
มณฑป
อาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสประกอบเครื่องยอดรูปปราสาท มีรูปคล้ายบุษบกขยายส่วนใหญ่ให้มีการใช้สอยภายในได้ เช่น มณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระมณฑปพระไตรปิฎก ในวัดพระศรีศาสดาราม กรุงเทพ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
มณฑปพระกระยาสนาน
พระมณฑปสำหรับตั้งพระแท่นสรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เฉพาะสำหรับพราหม์พิธีถวายน้ำสงฆ์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
มณฑปยอดปรางค์
อาคารรูปสี่เหลี่ยมที่ก่อพระเจดีย์ทรงปรางค์ไว้ตอนบน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
มนิลา
เรือนไม้ทั่วไปที่ยกจั่วหลังคาทางด้านสกัด คำว่า "มนิลา" นี้หมายถึงรูปลักษณะดังกล่าวของหลังคาโดยเฉพาะ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ม้า
ไม้แผ่นยาวต่อขาสี่ขา มีลักษณะขาตั้งค่อนข้างเอียงผายออก ใช้เป็นที่รองนั่งหรือรองสิ่งของ นิยมใช้ในงานของช่างไม้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
มุขประเจิด
มุขขนาดเล็กมีเสารับ ตั้งบนชายคาปีกนกต่ออกมาจากมุขใหญ่ทางด้านสกัดของอาคาร มุขประเจิดชนิดนี้เป็นแบบนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปีพ.ศ. 2275-2310 และนิยมใช้สืบมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่ใช้เป็นมุขร้านเทศน์ (สังเค็ด) และมุขอาคาร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
มุง
การใช้วัสดุที่มีความทึบปิดคลุมส่วนบนของสิ่งปลูกสร้างเพื่อกันแดดหรือฝนมิให้ผ่านลงมายังบริเวณภายใต้ เช่น การมุงกระเบื้องหรือจากบนหลังคาสิ่งปลูกสร้าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ไม้กระบอก
ไม้ที่มีลำปล้องแข็งรูปทรงกลม ใช้เป็นประโยชน์ในการปลูกสร้างเรือนหลวงหรือโรงเครื่องผูก ใช้ทำโครง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ไม้ก๊ำสี
น.เสาไม้ค้ำจุนกิ่งโพ (สี) ทำเป็นเสาไม้ท่อนยาวแกะสลักหรือทาสี ตอนปลายแต่งเป็นง่ามสำหรับรองรับกิ่งไม้ตามคติของชาวภาคเหนือ ที่เชื่อว่าจะเป็นเครื่องช่วยค้ำต่ออายุให้ยืนนานได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ไม้ข้างควาย
ไม้กระบอกผ่าซีกใช้ประกับปลายเครื่องมุงที่สันหลังคาเรือนเครื่องผูก เพื่อบังคับให้เครื่องมุงติดอยู่กับที่ตัวไม้จะติดอยู่ได้ด้วยการอาศัยไม้เสียบหนูเป็นตัวจับยึดอีกทีหนึ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ไม้เสียบหนู
ตัวไม้ที่แทงทะลุสันหลังคาผ่านซีกไม้ไผ่ที่ทาบบังคับปลายเครื่องมุงไว้ทั่งสองข้าง ไม้เสียบหนูนี้จะมีไว้ เป็นระยะเพื่อจับซีกไม้ไผ่ที่ทาบสันหลังคาให้ติดแน่นและซีกไม้ดังกล่าวก็คือตัวไม้ที่เรียกกันว่า ไม้ข้างควาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ไม้อุทุมพร
ไม้มะเดื่อ เป็นไม้เนื้ออ่อน ใช้ในการปลูกสร้างเครื่องกำมะลอชั่วคราวในงานพระราชพิธี เช่น สร้างมณฑป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ยก
มาตราวัดไม้ ไม้ 1 ยก คือ ไม้ที่มีความหนา 1 นิ้ว กว้าง 24 นิ้ว ยาว 16 วา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ยก
มาตราวัดไม้ ไม้ 1 ยก คือ ไม้ที่มีความหนา 1 นิ้ว กว้าง 24 นิ้ว ยาว 16 วา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ยกพื้น
พื้นปูด้วยเครื่องปู เช่น ไม้หรือฟากที่ยกสูงจากพื้นดินทั่วไป เพื่อให้พ้นความสกปรกของดินและความชื้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ย่อไม้
การแตกมุมใหญ่ให้เป็นมุมย่อยๆหลายๆมุม แต่ยังรวมอยู่ในรูปของมุมใหญ่ตามหลักที่นิยมทำกันมาแต่โบราณมักแตกมุมเป็นเลขคี่ เช่น แตกเป็นสามเป็นห้า เรียกว่า ย่อไม้สิบสอง ย่อไม้สิบ การเรียกนับสิบสองหรือยี่สิบคือ เรียกจำนวนที่ย่อมุมไม้ทั้งสี่มุม เป็นชื่อจำนวนที่ย่อมรวมกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ยิงลม
ไม้ค้ำโคนตั้งแขวนของโครงจั่วระหว่างห้องชั้นใน ค้ำทแยงให้ปลายของไม้ค้ำไปยันอยู่กับปลายจั่วตอนบนของฝาด้านหุ้มกลอง ไม้ยิงลมนี้ใช้เฉพาะกับเรือนไทยทางภาคเหนือและภาคอีสาน เป้นต้นไม้ที่ช่วยยึดไม่ให้โครงจั่วรวนหรือเซ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ยุ้ง
เรือนขนาดเล็กยกพื้นสูงสำหรับเก็บข้าวเปลือกหรือพืชไร่ไว้บริโภค ปละใช้ทำพันธุ์เพาะปลูกในฤดูกาล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รวยระกา
ชื่อขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป้นตัวไม้ปิดปลายระแนงรับกระเบื้องหลังคา แผ่นไม้นี้จะวางตามตั้งดัดโค้งแอ่นไปตามความโค้งของขอบลาดหลังคาตัวไม้นี้หากนำไปใช้ประกอบเรือนพักอาศัยก็เรียกว่า ไม้ปั้นลม รวยระกานี้จะพบว่ามีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นได้อีกคือ นาคสำรวย ตัวรวย หรือ รวย เหตุที่ได้ชื่อว่ารวยระกาก็เพราะใช้ตัวรวยเป็นที่ปักของตัวไม้ที่เรียกว่าใบระกา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ร่องตีนช้าง
ส่วนประกอบของฝาเรือนเครื่องสับแบบฝาปะกนตรงส่วนล่างของแผงฝาระหว่างแนวใต้กรอบหน้าต่างกับกรอบตีนฝา มีความยาวตลอดแผงฝา มีลักษณะเป้นช่องลูกฟักปะกนตาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เรียงต่อเนื่องกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ร่อง
ส่วนแยกของไม้พื้น ช่องระหว่าไม้พื้นต่อกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รอด
ตัวไม้ที่สอดระหว่างคู่เสาทางด้านสกัดของตัวเรือนเพื่อทำหน้าที่รับไม้พื้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ระดับ
ก.แนวหรือระนาบที่มีความสูงเท่ากันตลอดความยาวเช่นเดียวกับระดับเท่าของผิวน้ำ ข.เครื่องมือที่ใช้น้ำเป็นเครื่องช่วยหาความสูงที่เท่ากันระหว่างพื้นที่ที่กำหนดไว้แห่งหนึ่ง กับพื้นที่ที่ต้องการวัดหาระดับเท่าอีกที่หนึ่งหรือหลายที่ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ระทา
เรือนดอกไม้ไฟ เป็นโครงไม้รูปสี่เหลี่ยม ยกตั้งประดับตามแผงด้วยดอกไม้ไฟใช้จุดกลางคืนเวลามีงานฉลองต่างๆ และใช้ในงานเมรุ ดอกไม้ไฟชนิดที่ใช้ประดับแผงระทาเป็นชนิดที่ทำเสียงเลียนเสียงสัตว์ เช่น เสียงกวาง เสียงกา ฯลฯ ได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ระแนะ
ท่อนไม้ไขว้เป็นแกงแนงรองรับโคนเสาโรงเรียน ฝังอยู่ก้นหลุมเสา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ระเบียง
ชานยกพื้นรอบอาคารมีหลังคาคลุม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รักแร้
ส่วนของอาคารตอนใต้ชายคาของหลังคาที่มาชนกันเป็นมุมฉาก เช่น รักแร้ปราสาท (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รัง
ต้นไม้ประเภทไม้เนื้อแข็ง ใช้ในการปลูกสร้างเรือน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รั้วค่าว
น.รั้วไม้เปิดช่องเป็นทางผ่าน มีไม้ท่อนสอดขวางเพื่อกันสัตว์ล่วงล้ำเขตที่หวงห้าม เช่น เขตวัดหรือเขตบ้าน เมื่อเวลาต้องผ่านเข้าหรือผ่านออกจะเลื่อนไม้ท่อนขวางไปตามแนวขนานของรั้ว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รั้วตาแสง
น.รั้วไม้ขัดหรือสานตาโปร่งเช่นเดียวกับชนิดที่ทำแผงราชวัติ นิยมทำเป็นรั้วกั้นบริเวณบ้านเพื่อป้องกันสัตว์บุกรุก ไม้ที่ใช้ส่วนมากเป็นไม้ไผ่หรือไม้รวก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รั้วสะลาม
น.รั้วขัดด้วยซี่ไม้เป็นแผงทึบ เพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกมองเข้าไปเห็นบริเวณภายในรั้วนั้นได้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รั้วหนาม
รั้วที่สะด้วยเรียวหนามหรือกิ่งไผ่ เพื่อป้องกันคนหรือสัตว์ล่วงล้ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รา
ไม้รับพื้นเรือนสอดขวางใต้แผ่นกระดานพื้น ปลายสองข้างแขวนติดกับไม้พรึง ไม้รานี้จะแขวนรับพื้นที่ระยะกึ่งกลางช่วงห้อง มีประโยชน์ช่วยไม่ให้ไม้กระดานแผ่นที่รับน้ำหนักหย่อนตัวลงเกินกว่าไม้กระดานแผ่นอื่น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รากฐาน
โครงสร้างส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุด เป็นองค์ประกอบส่วนสำตัญในทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารนั้นรักษารูปทรงอยู่ได้โดยสมบูรณ์บนผิวดิน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ราง
วัตถุที่ทำเป็นร่องไปตามยาว เช่น รางน้ำขอบถนน หรือรางน้ำฝนขอบชายคา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รางน้ำฝน
รางที่ทำไว้ที่ส่วนปลายล่างสุดของหลังคาเพื่อรองรับน้ำฝนจากผืนหลังคา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ร่างร้าน
ร้านโครงไม้หรือโลหะที่ประกอบกันขึ้นสำหรับงานก่อสร้างที่มีความสูงเกินระดับคนยืน ใช้ประโยชน์สำหรับการทำงานในที่สูง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ร้านม้า
ยกพื้นไม้กระดานที่ปูทับบนม้าไม้ ใช้สำหรับงานปลูกสร้างของช่างไม้ หรือใช้เป็นยกพื้นโรงมหรสพกลางแปลง หรือใช้สำหรับตั้งสิ่งของสำหรับค้าขาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ร้าน
แผงไม้ขัดเป็นตะแกรงค้ำยันด้วยขาไม้หลายขาให้แผลไม้ตะแกรงอยู่ในแนวระดับ มีลักษณะคล้ายกับแคร่นั่งแต่โปร่งกว่า ใช้สำหรับปูกต้นไม้เถา เช่น ฟักหรือบวบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
รูปด้าน
รูปของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างด้านใดด้านหนึ่งที่เขียนขึ้นให้เห็นชัดเจนสามารถวัดสอบเทียบนำไปขยายส่วนใช้เป็นแบบสร้างได้จริง รูปด้านนี้อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่ารูปตั้ง เช่น รูปตั้งด้านหน้า รูปตั้งด้านข้าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือก
ไม้ไผ่หรือไม้กระบอกผ่าซีก สับด้วยมีดเป็นแนวตามยาว แบะให้เป็นแผ่นแบน ใช้ทำรั้วหรือฝานิยมใช้กันในท้องถิ่นทั่วไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนเครื่องประดุ
เรือนไทยที่สร้างด้วยไม้จริงตั้งแต่ตัวเรือนตลอดจนถึงโครงหลังคา เรียกตามภาษาช่างในสมัยก่อนว่า เรือนเครืองประดุ การแปรรูปไม้ในสมัยก่อนไม่มีอุปกรณ์การเลื่อยดังทุกวันนี้ แต่จะใช้ผึ่งหรือขวานถาก หรือสับท่อนไม้ให้ได้รูปไม้ตามที่ต้องการ โดยอาศัยวิธีการแปรรูปไม้ดังนี้ เรือนเครื่องประดุหรือเรือนไม้จริงจึงได้เรียกว่าเรือนสับเป็นอีกชื่อหนึ่งด้วย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนน้ำ
ยกชั้นมีหลังคาคลุม มักทำไว้ใกล้ทางขึ้นลงติดกับชานเรือน ใช้เป็นที่ตั้งหม้อน้ำทำด้วยดินเผา ใส่น้ำไว้รับแขกและใช้ดื่มกินในครัวเรือนทางภาคเหนือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนแฝด
เรือนที่วางห้องตามยาวขนานกัน และมีจั่วหลังคาวางเป็นคู่เท่าๆ กัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนพะไล
เรือนที่ยกจั่วหลังคาขึ้นแทนการทำหลังคาปีกนกเช่นที่ทำกันเป็นสามัญ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนแพ
เรือนที่อยู่อาศัยหรือเรือนค้าขายที่ปลูกลงบนแพลูกบวบหรือบนทุ่นลอยในน้ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนไม้บั่ว
เรือนชั่วคราวหรือเรือนเครื่องผูกที่ปลูกขึ้นด้วยไม้ไผ่ โดยไม่ต้องการฝีมือและความประณีต (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนสับ
เรือนไทยที่สร้างด้วยไม้จริงตั้งแต่ตัวเรือนตลอดจนถึงโครงหลังคา ไม้ที่ใช้ในการปลูกสร้างตัวเรือนทั้งหมดได้จากการแปรรูปโดยวิธีใช้ผึ่งหรือขวานถากสับท่อนไม้ให้ได้รูปไม้ตามต้องการ โดยอาศัยวิธีการแปรรูปไม้ดังนี้ เรือนไม้จริงจึงได้เรียกว่าเรือนสับในภาษาช่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนหมู่
เรือนที่ปลูกขึ้นหลายหลังในหมู่เดียวกัน สำหรับการใช้สอยของบุคคลในครอบครัวเดียว (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เรือนหอ
เรือนที่ปลูกขึ้นเนื่องในการสมรส เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นครอบครัวใหม่สืบต่อไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
แระ
ไม้ขวางตีนเสาเพื่อกันเสาจมดิน ไม้ขวางนี้มีความยาวประมาณ 1 ศอก อาจทำเป็นไม้ท่อนเดียวเจาะสอดโคนเสา หรืออาจเป็นไม้สองท่อนบากขนาบคู่ที่โคนเสา แระเช่นที่กล่าวนี้ใช้สำหรับโคนเสาเรือนทั่วไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โรง
สิ่งปลูกสร้างทำด้วยไม้พื้นติดดิน ทำอย่างหยาบๆให้เป็นที่เก็บของหรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว หรือใช้เป็นที่ค้าขาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โรงนา
โรงที่ชาวนาปลูกขึ้นริมเขตนาเพื่อเก็บเครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คันไถ คราด แอก ฯลฯ หรือใช้เป็นที่ประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การตีเหล็ก ทำมีด ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
โรงฟาง
โรงยกแคร่ไม้ ใช้เป็นที่เก็บฟางไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ล้ม
ฝา ผนัง หรือเสาที่ทำล้มเอนเข้าหาภายในอาคาร เรียกว่า ฝาล้ม หรือ ผนังล้ม มีอัตราส่วนล้ม 1 ศอก ต่อ 1 นิ้ว สิ่งปลูกสร้างในสมัยโบราณ ถ้าเป็นสิ่งที่มีทรวดทรงหรือมีความหนาก็มักจะทำส่วนที่ตั้งขึ้นสูงให้เอนล้มเข้าหาด้านใน ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากฝาเรือนไทย ผนังโบสถ์ หรือกำแพงเมือง ฯลฯ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีน้ำหนักถ่วงตกลงภายในรูปสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ การทำเช่นนี้ช่วยให้สิ่งปลูกสร้างทรงตัวอยู่ได้มั่นคงถาวรกว่าที่จะทำรูปตั้งตรง ซึ่งความผุเปื่อยของวัตถุจะทำให้เกิดการพังทลายได้ง่ายกว่า (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลวด
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ประดิษฐ์เป็นเส้นนูนครึ่งทรงกลมบนผิววัตถุเรียบ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลำแพน
ผืนเสื่อที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับกรุฝาโรงเรือนในชนบท (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลิ้นกระบือ
ชิ้นหรือแผ่นไม้ขนาดเล็กที่ทำรูปคล้ายลิ้นคนหรือสัตว์อัดติดอยู่กับขอบหนาของแผ่นกระดานข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้ลิ้นเช่นนี้สอดเข้าไปในเบ้าที่เตรียมไว้ ในขอบด้านหนาของกระดานอีกแผ่นหนึ่ง เมื่อนำกระดาษที่มีลิ้นและมีเบ้ามาอัดเข้าชิดต่อเนื่องกันในการปูพื้นโรงเรือน จะทำให้กระดานแต่ละแผ่นจับยึดกันเหมือนเป็นผืนเดียว กระดานจะไม่เกิดการไหวยวบที่แผ่นใดแผ่นหนึ่งเมื่อถูกน้ำหนักกด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลิ้น
สิ่งที่มีลักษณะแบนบาง ทำขึ้นเพื่อใช้สอดเข้าไปในอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ลิ้นกระดานปูพื้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลิ่ม
ชิ้นไม้ท่อนสั้นมีปลายเล็กกว่าโคน สำหรับตอกแทรกลงไปในระหว่างช่องไม้ท่อนอื่นเพื่อ ก.ให้แนวแยกของไม้ท่อนที่ถูกตอกลิ่มแยกออกจากกันมากขึ้น เช่น ช่วยในการแปรรูปไม้ซุง ข.ให้เกิดการอัดตัวเข้าไปในไม้ท่อนอื่นเพื่อให้มีกำลังเกาะยึดเหมือนเป็นไม้ท่อนเดียวกัน เช่น ใช้ในการต่อเสาสองท่อนให้มีกำลังเหมือนเสาท่อนเดียวกัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลูกคลัก
ก.ไม้ท่อนสั้นที่มีสายเชือกผูกตอนกลางไม้ ใช้สำหรับขัดกับสิ่งอื่น เช่น ขัดปากโอ่ง ปากไห เมื่อต้องการจะหามโอ่งหรือไหนั้นไปด้วยไม้คาน หรือใช้เป็นไม้ขัดปากแร้ว ดักสัตว์ เมื่อสัตว์ติดแร้วก็ดึงไม้ลูกคลักนั้นให้ฝาปิด ข.ลูกขั้นบันไดเรือนแบบเรือนโบราณ ทำด้วยไม้ท่อนสั้นอัดปลายติดกับไม้แม่บันได การขึ้นลงต้องใช้มือช่วยเกาะท่อนลูกคลักตัวที่อยู่ตอนบนเพื่อเหนี่ยวตัวกันตก บันได้ชนิดนี้ใช้พาดกับขอบชานเรือนและชักขึ้นได้สะดวกในเวลาค่ำ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลูกดิ่ง
ลูกตุ้มที่มีส่วนล่างแหลมชี้ลงดิน มีสายเชือกผูกห้อย ใช้ประโยชน์ในการนำไปเทียบกับสิ่งที่ยกตั้งขึ้นสูงเพื่อต้องการให้สิ่งที่ยกตั้งขึ้น เช่น เสา ตั้งตรงได้ฉากหรือได้ดิ่งกับพื้นดิน เป็นเครื่องมือในการปลูกสร้างชนิดหนึ่งของช่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลูกทอย
ไม้ท่อนกลมขนาดเล็กปลายเสี้ยม ใช้ตอกติดกับต้นไม้ให้คนเหนี่ยวและเหยียบปีนขึ้นไปตามความสูงของลำต้นได้แทนพะอง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ลูกหีบ
ขั้นเหยียบเช่นเดียวกับขั้นบันได แต่มีขั้นเดียว ใช้วางหน้าช่องประตูช่วยให้ก้าวข้ามเข้าออกประตูแบบเรือนไทยโบราณได้สะดวก กรอบล่างของประตูเรือนไทยโบราณหรือที่เรียกกันว่าเช็ดหน้าประตูนั้นจะต้องอยู่บนกรอบฝาอีกชั้นหนึ่ง ไม่ได้วางติดกระดานพื้นเช่นประตูปัจจุบันด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีลูกหีบช่วยให้ก้าวขึ้นลงได้สะดวก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เลื่อย
เครื่องมือสำหรับดัดแปลรูปไม้ท่อน ทำด้วยเหล็ก มีซี่ฟันคม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
วงพาด
รั้วไม้ที่มีวงล้อมขนาดเล็กสำหรับแยกช้างที่คัดแล้วเอามาล้อมไว้ต่างหากวงพาดนี้จะทำไว้ในบริเวณเพนียด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ศาลา
สิ่งปลูกสร้างมีเครื่องมุง ภายในศาลาเป็นโถงใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนของผู้เดินทาง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ศาลาดิน
อาคารที่สร้างเป็นศาลายกพื้นสูงจากระดับดินเพียลงเล็กน้อย โดยทั่วไปจะยกพื้นสูงประมาณช่วงก้าวหนึ่งขึ้นบันได (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สลัก
ท่อนไม้ที่ใช้ขัดสอดเข้าไปในช่องบังคับ ใส่และถอดเข้าอออกจากที่บังคับได้ เช่น ลูกสลักของบานประตูหน้าต่าง หรืออัดติดตายเช่นที่ใช้กับไม้เชิงชายใส่สลักอัดติดกับปลายจันทัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ส้วม
สถานที่ที่ทำขึ้นเฉพาะใช้เป้นสถานที่ถ่ายอุจจาระ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สว่าน
เครื่องมืสำหรับใช้เจาะเนื้อไม้ให้เป็นรู โดยใช้วิธีทำให้เหล็กเจาะหมุนแทงเข้าไปในเนื้อไม้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สัก
ไม้เนื้ออ่อนชั้นดีใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน หรือใช้ในงานไม้ประณีต (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สัณฐาน
รูปทรง ลักษณะที่ปรากฏโดยผิวนอก ใช้กับวัตถุที่เป็นรูปก้อน เช่น ลูกนิมิต มีสัณฐานกลม (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สัปปาก
การเข้าไม้สองท่อนโดยวิธีบากเหลี่ยมประกบกัน ให้ไม้แต่ละตัวคร่อมทับกันครึ่งต่อครึ่ง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สาหร่าย
ไม้ฉลักเรือเถาดอกไม้ เป็นส่วนที่ห้อยย้อยลงแนบข้างเสาต่อจากส่วนที่เรียกว่ารวงผึ้งที่ติดอยู่ใต้ท้องคานคอสองของมุขอาคาร ช่วงไม้ที่เป็นสาหร่ายนี้จะยาวประมาณครึ่งความสูงของเสา และตอนปลายล่างสุดมักนิยมทำรูปเทพนมหงส์ หรือหางหงส์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สิน
การใช้มีดสับไม้ให้เป้นแว่นเล็กๆ จนกว่าจะได้รูปที่ต้องการ หรือจนกว่าไม้จะถูกตัดขาด เช่น สินเสา หมายถึง การสับขอบคมของหน้าตัดโคนเสาให้ลบมุมคม เพื่อความสะดวกในการเขยื้อนโคนเสาขณะปักลงในหลุมเสา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สิ่ว
เครื่องมือช่างไม้ทำด้วยแผ่นเหล็กแบนยาว ปลายตัด มีคมอยู่ตอนปลายตัดมีด้ามไม้สำหรับจับหรือกำ ใช้ในงานขุดเจาะสกัดหรอเซาะตัวไม้ สิ่วมีหลายชนิด ใช้งานในหน้าที่ต่างๆ กันเพื่อความประณีตในการทำงาน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สุ้ย
เหล็กมีลักษณะคล้ายตะปูขนาดใหญ่ ปลายทู่ มีหัวรับค้อนตอก ใช้สำหรับเป็นเหล็กส่งหัวตะปูให้จมลงในเนื้อไม้ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
สุเหร่า
สถานที่ประกอบกิจทางศาสนาของอิลามิกชน นิยมใช้คำนี้เฉพาะอิสลามิกชนที่เป็นไทย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสา
ไม้ท่อนยาวหรือวัตถุอื่นที่มีรูปลักษณะคล้ยคลึงกัน นำมาใช้ประโยชนืในทางแนวดิ่ง เช่น เสาไม้รับเรือนหรือเสาอิฐก่อเป็นเสาตึก หรือเสาเหล็กใช้เป็นเสากระโดงเรือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสาขวัญ
เสาขวัญคือเสาเอกของเรือน เมื่อปลูกเรือนยกเสาเอกะต้องทำพิธีทำขวัญเสาเอกเสียก่อน ในสมัยโบราณเสาเอกนี้ผู้เป็นเจ้าของเรือนจะต้องไปเลือกคัดเอกจากป่านำมาบ้าน และคติดบราณเชื่อว่าต้นไม้ทุกต้นมีเทพารักษ์ หรือนางไม้สิงอยู่ เมื่อโค่นต้นนำมาทำเสา เทพารักษ์หรือนางไม้ย่อมตามมาด้วย จึงจำเป็นต้องทำขวัญไม้นั้นเสียก่อน จึงได้เรียกไม้สำหรับเสาเอกนั้นว่าเสาขวัญ เมื่อทำขวัญเสาแล้วก็ไม่เรียกว่าเสาขวัญอีกต่อไป แต่จะเรียกว่า เสาเอก แทน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสาดั้งลวด
น.เสารับปลายพะไลเรือน ทำด้วยเสาไม้ท่อนเดียวปักขึ้นจากพื้นดินโดยตรง เสาชนิดนี้เป็นเสาอย่างเดียวกับที่ทางภาคกลางเรียกว่า เสานางจรัล (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสาตะม่อ
เสาที่ใช้เป็นฐานหยั่งลงไปในดินเพื่อให้ส่วนปลายของเสาตอม่อนี้กดยันหน้าดินแทนเสาอาคาร ส่วนบนของเสาตอม่อจะโผล่พ้นผิวดินขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รองรับเสาอาคาร (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสาไต้
เสาสำหรับปักไต้ให้แสงสว่างตามทางเดินหรือบริเวณทั่วไปภายนอกอาคารส่วนมากเป็นเสาสลักหินสี่งเป็นอับเฉาสำเภาจากเมืองจีน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสานางจรัล
เสาไม้รับชายคาโรงเรือนหรืออาคารไม้ทั่วไป "นาง" ในที่นี้หมายถึงนางไม้ของเสาไม้นั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสาพล
เสาทั่วๆ ไปที่เป็นเสาเรือนหรือเสาอาคาร โดยที่เสานั้นๆ มิได้ถูกกำหนดให้เป็นเสาสำคัญในการทำพิธี เช่น เสาเอก เสาโท ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสาหมอ
เสาที่ปักขึ้นใหม่เพื่อช่วยค้ำจุนแทนเสาเดิมที่ชำรุด ไม่สามารถรับน้ำหนักได้อีกต่อไป (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เสาหาญ
ปัจจุบันเขียน เสาหาน เสารับกำลังของอาคารที่ตั้งอยู่กึ่งกลางด้านสกัด หรือเสาที่ตั้งผ่านแนวศูนย์กลางอาคาร ไม่ว่าเสานั้นจะอยู่ภายนอกหรือภายในอาคารก็ตาม
เสาอิง
เสาที่ปรากฏเด่นออกมาจากผิวหนังเรียบเพื่อแสดงโครงสร้าง และจุดที่จะต้องรับน้ำหนักจากโครงจั่วหลังคาที่อยู่ตอนบน การเรียกชื่อเสาอิงเป็นการเรียกลักษณะของเสาที่ดูเหมือนพิงติดผนัง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หนทาง
ทางเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เกิดขึ้นจากการใช้เดินเป็นประจำ ไม่ใช่ทางที่เจตนาตัดขึ้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หนแป
แนวด้านเหนือและด้านใต้ เรียกตามแนวการวางตัวเรือนหันด้านข้างขวางแนวทางลมจากทางทิศเหนือและทิศใต้ตามประเพณีโบราณ "หนแป" เป็นคำใช้คู่กับคำว่า "หนขื่อ" (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้ากระดานคอสอง
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นแผ่นหรือผงบรรจุอยู่ระหว่างอเส หรือแปรับชายปีกนกของส่วนลาดหลังคาตอนบนกับตัวไม้คอสองที่รับชายคาลดชั้นช่วงล่าง หน้ากระดานคอสองนี้ในบางท้องถิ่น เช่น ทางภาคเหนือ เรียกว่า แผงแล สถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนนิยมใช้หน้ากระดานคอสองนี้มากกว่าสถาปัตยกรรม ที่เป็นแบบทางภาคกลาง และองคืประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนนี้จะปรากฏมีเฉพาะทางด้านข้างของอาคารที่มีชั้นลดของหลังคาห่างกันเท่านั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้ากระดานท้องไม้
องค์ประกอบเชิงศิลป์ที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีระนาบเรียบ และมีความยาวต่อเนื่องกัน เช่น เป้นระนาบที่อยู่ระหว่างบัวหงายและบัวคว่ำ มักนิยมใช้เป็นองค์ประกอบของฐานรองรับ และเป็นระนาบที่อยู่ลึกกว่าระนาบใดๆ ที่มีอยู่ในสิ่งที่สร้างขึ้นนั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้ากระดาน
องค์ประกอบเชิงศิลป์ที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีระนาบเรียบ และมีความยาวต่อเนื่องกัน เช่น แนวระนาบเรียบของขอบฐานต่างๆ หน้ากระดานที่ขอบบนเรียกว่า หน้ากระดานบน และหน้ากระดานที่ขอบล่างเรียกว่า หน้ากระดานล่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้าจั่ว
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเป็นแผงกั้นรูปไม้สามเหลี่ยมประกับปิดตรงส่วนที่เป็นโพรงหลังคาทางด้านสกัดของเรือน หรือที่เรียกกันว่า ด้านหุ้มกลอง จั่วหรือหน้าจั่วนี้เรียกเฉพาะกับเรือนไม้เครื่องสับ (เรือนไม้จริง) เท่านั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้ามุข
ส่วนของอาคารเฉพาะที่ยื่นออกมา และใช้เป็นทางเข้าออกที่สำคัญของอาคารนั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้าร้าน
ด้านหน้าของอาคารส่วนที่เป็นชั้นล่างติดทางเดินหรือถนน ใช้เรียกเฉพาะด้านหน้าของอาคารที่ใช้ในการค้าขาย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้าอุดเต้า
แผ่นไม้บรรจุอยู่ในวงกรอบสามเหลี่ยมระหว่างเสาแนวนอกสุดของอาคารกับแปปลายเต้าด้านที่อยู่ติดกับไม้เชิงกลอน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หน้าอุดปีกนก
แผ่นไม้บรรจุอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมระหว่างเสารับปลายขื่อของดครงจั่วใหญ่กับเสารับปลายขื่อลดรับปีก (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หย่อง
แผ่นไม้ลูกฟักลายฉลุหรือแกะ ใช้สำหรับประดับกรอบหน้าต่างตอนล่าง (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หย่างต้ำ
ตัวไม้ที่ทำขึ้นยันรับปลายเต้ากันปลายทรุดตก ทำหน้าที่และเป็นอย่างเดียวกับที่ทางภาคกลางเรียกว่า ไม้ค้ำยัน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หลบ
ครอบสันหลังคาเรือนเครื่องผูก ทำด้วยไม้เป็นรูปสันอกไก่ครอบทับลงบนขอบบนของผืนหลังคามุงจากหรือมุงด้วยหญ้าคา ฯลฯ เพื่อกันฝนรั่ว คำว่า หลบ มักนิยมใช้เฉพาะกับคำว่า หลบจาก เท่านั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หลังคา
เครื่องปกคลุมอาคารให้พ้นจากภัยธรรมชาติ มีลักษณะยกสูงตอนในและลาดต่ำลงหาขอบนอกของอาคาร เพื่อให้น้ำฝนไหลลงได้สะดวก เป็นคำที่มีเค้าเดิมมาจากการใช้ใบหญ้าคามุงที่อยู่อาศัยในสมัยโบราณ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หลังเต่า
สิ่งที่มีลักษณะนูนขึ้นตอนในหรือตอนกลาง และมีส่วนนอกโดยรอบลาดต่ำหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายหลังเต่า นิยมทำสำหรับลานโล่ง เพื่อให้น้ำไหลสะดวกไม่ค้างนองอยู่กับพื้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ห้อง
ก.ส่วนที่ใช้สอยเนื้อที่ในขอบเขตที่มีฝากั้นล้อมภายในตัวอาคาร ข.ระยะในระหว่างของช่วงเสาทางด้านข้างของอาคาร ใช้เป็นหน่วยกำหนดเรียกขนาดของอาคารในสมัยอดีต เช่น เรือนขนาด 3 ห้อง เรือน 5 ห้อง ฯลฯ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
หัวเทียน
หัวเสาเรือนตรงส่วนที่ถูกเฉือนเนื้อไม้ออกให้เหลือแกนเป็นรูปเดือย เดือยนี้จะทำไว้สำหรับสอดรับปลายขื่อที่นำมาวางทับที่หัวเสา ปลายขื่อจะยึดติดแน่นกับหัวเทียนโดยใช้วิธีอัดลิ่มขัดขื่อในรูหรือช่องเจาะที่แกนหัวเทียน (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ห้าง
ร้านไม้ขัดบนที่สูง ใช้อาศัยเป็นมที่พักให้พ้นภัยจากสัตว์ หรือเพื่อไว้เฝ้าสัตว์ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เหงา
องค์ประกอบส่วนปลายของปั้นลมเรือนไทย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เหม
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมส่วนที่เป็นปั้นลมของซุ้มวิมาน มีลักษณะเป็นทรงจอมแห ยอดแหลม ในทางสถาปัตยกรรมนิยมใช้ประดับเป็นปั้นลมปลายไขราพลับพลา (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
อก
ส่วนของวัตถุ (ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับตัวไม้) ที่ยื่นล้ำนูนออกไปข้างนอก หรือส่วนที่มีรูปเป็นสันคล้ายอก เช่น อกเลา อกไก่ อกว่าว อกเลื่อย (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
อาคาร
สิ่งที่ปลูกก่อหรือสร้างขึ้นเพื่อให้คนเข้าอยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์เนื้อที่ภายใน ไม่ว่าอาคารนั้นจะทำด้วยวัตถุชนิดใด (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
อิฐ
ก้อนดินเหนียวปั้นเป็นรูปก้อนเหลี่ยมตากแห้งหรือเผาแกร่ง ใช้ประโยชน์ในการก่ออาคารหรือถาวรวัตถุ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฮ่อมริน
น.รางรับน้ำฝนที่ปลายชายคา มักทำตรงส่วนที่มีชายคาของเรือนสองหลังมาบรรจบกันเท่านั้น (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
เฮือน
น.เรือนที่อยู่อาศัย เป็นคำเรียกในภาษาเหนือ (ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.)
ฐานข้อมูลเรือนพื้นถิ่นในประเทศไทย
นโยบายการใช้งาน
|
ติดต่อเรา