ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
วิทยากรโดย
ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
ศรัณย์ ทองปาน
รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ
ผศ.พิชญา สุ่มจินดา
.........................
สถานภาพความรู้ความเข้าใจภูมิสถานยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนการปฏิรูปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ในวงวิชาการปัจจุบัน มีที่มาจากชุดข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม คือ เอกสารลายลักษณ์ประเภทพงศาวดาร วรรณกรรม และจารึก กับภาพถ่ายเก่าที่เริ่มมีการบันทึกในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ หลักฐานทั้งสองกลุ่มแม้จะให้รายละเอียดทางกายภาพของบ้านเมืองในสมัยนั้นได้ดีพอสมควร แต่ยังถือว่ามีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย ทั้งในแง่ของปริมาณที่มีอยู่จำกัด ความน่าเชื่อถือ และสภาพของตัวหลักฐานที่หลงเหลือให้ศึกษา จนอาจกล่าวได้ว่า ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนยุคสมัยแห่งการปฏิรูปครั้งใหญ่ มีลักษณะเหมือนภาพถ่ายที่พร่าเลือนหรือภาพวาดที่ขาดวิ่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการตีพิมพ์เอกสารชุดสำคัญที่ยังไม่เคยมีการเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน คือ “แผนที่กรุงเทพฯ-กรุงธนบุรี จ.ศ.๑๒๔๙” (พ.ศ.๒๔๓๐) และมีงานศึกษาตีความจิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือน วัดราชประดิษฐ ขึ้นใหม่อีกครั้ง ซึ่งงานทั้งสองชิ้น ได้เปิดเผยให้เห็นหลักฐานและข้อมูลใหม่แก่วงวิชาการ ในการย้อนกลับไปศึกษา ทำความเข้าใจภูมิสถานกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีตได้มากยิ่งขึ้น แม้ข้อมูลหลักฐานชุดดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ มิใช่หลักฐานร่วมสมัยในยุคต้นรัตนโกสินทร์ แต่หลักฐานทั้งสองก็ได้ทิ้งร่องรอยบางประการ ที่ทำให้สามารถสืบย้อนกลับไปในอดีตได้ไกลกว่ายุคสมัยที่ตัวมันได้ถูกสร้างขึ้น กล่าวให้ชัดคือ หลักฐานทั้งสองชิ้นสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคต้นรัตนโกสินทร์ได้
งานบรรยายครั้งนี้จะพาเราย้อนกลับไปสำรวจและทบทวนหลักฐานชุดดังกล่าว พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการศึกษาและตีความ ในฐานะหลักฐานยุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการเติมเต็มช่องว่างทางความรู้และความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภูมิสถานยุคต้นรัตนโกสินทร์ก่อนการปฏิรูปสู่ความเป็นสมัยใหม่ครั้งใหญ่ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕
......................................
กำหนดการ
งานบรรยายประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๐
#รัตนโกสินทร์ที่ไม่เคยเห็น: ข้อมูลใหม่จากแผนที่และจิตรกรรมฝาผนัง
วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ / 13.00-17.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 - 13.45 น. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ กล่าวเปิดงาน
13.45 - 14.30 น. ทำความรู้จัก “แผนที่กรุงเทพฯ-กรุงธนบุรี จ.ศ. ๑๒๔๙” โดย ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ
และ ศรัณย์ ทองปาน กองบรรณาธิการ นิตยสารสารคดี
14.30 - 14.40 น. ซัก-ถาม-แสดงความคิดเห็น
14.45 - 15.25 น. "ต้นรัตนโกสินทร์ที่ไม่เคยเห็น: ร่องรอยจากแผนที่กรุงเทพฯ-กรุงธน จ.ศ. ๑๒๔๙" โดย รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
15.25 - 15.35 น. ซัก-ถาม-แสดงความเห็น
15:35 - 15:50 น. พัก-ของว่าง
15:50 - 16:35 น. "สถาปัตยกรรมที่หายไป...บันทึกไว้ในจิตรกรรมวัดราชประดิษฐ" โดย ผศ.พิชญา สุ่มจินดา คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
16:35 - 16:45 น. ซัก-ถาม-แสดงความเห็น
16.45 - 17:00 น. ผู้แทนมูลนิธิฯ กล่าวปิดงาน ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเป็นที่ระลึก
...............................................
กิจกรรมครั้งนี้รับผู้ร่วมงานจำนวน 100 ท่าน
ค่าลงทะเบียน ท่านละ 500.- บาท
(เป็นค่าบริการสถานที่ / เอกสารประกอบโครงการ / อาหารว่าง และร่วมสมทบทุนการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะครั้งต่อไป)
ยืนยันสำรองที่นั่งโอนเงินเข้าบัญชี มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์
เลขที่บัญชี 001-588-617-4 ธนาคารไทยพาณิชย์
"ส่งข้อความ" แจ้งชื่อที่อยู่เพื่อออกใบเสร็จ
ได้ทาง Inbox มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์
www.facebook.com/piriyafoundation
และ อีเมล์: piriyafoundation@gmail.com
หรือที่ Line ID: p.foundation
โทร: 080-671-1833
ตั้งแต่บัดนี้ ถึง ๒๒ กันยายน ๒๕๖๐